วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มีกฎหมายบอกไหม จปว.ต้องเป็นลูกจ้างประจำ

มีกฎหมายบอกไหม จปว.ต้องเป็นลูกจ้างประจำ


คำถาม
1. ผมจบมาหลายปีแต่ไปทำธุรกิจ ตอนนี้อยู่ตัวแล้ว อยากทำ จปว. เพื่อทบทวนความรูู้

2. แต่ไม่สามารถทำทุกวันได้เพราะต้องแบ่งเวลาให้ธุรกิจ คือจะไปเป็น จปว. 1-3 วันต่ออาทิตย์

3. คำถามคือนายจ้างกังวลว่าเขาทำผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะตอนนี้แต่งตั้งและไปขึ้นทะเบียนเป้น จปว.แล้ว จึงสงสัยว่ามีตรงไหนของกฎหมายบอกว่าต้องทำงานประจำ

4. ระหว่างนายจ้างและผมหารผิดกฎหมาย ใครผิดกว่ากัน ถูกลงโทษอย่างไร

คำตอบค่ะ
1. ไม่แน่ใจนะคะว่า ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง หมวด 4 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ข้อ 14 กำหนดให้ จป.ทำงานเต็มเวลา ซึ่งเราอ้างอิงเอกสารไม่ได้นะ ลองค้นๆ ดูอีกทีนะคะ มีเวปนึงบอกว่ากฎหมายยกเลิกไป แต่ก็มีผลบังคับว่า จป.ทำงานเต็มเวลานะ

2. ตามกฎกระทรวง การบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ปี 2549 ข้อ 16 บอกว่า สถานประกอบการตามที่กำหนด และมีลูกจ้างตามทีกำหนด นายจ้างต้องแต่งตั้งลูกจ้างเป็น จป.วิชาชีพ ซึ่งถ้าตีความหมายคำนิยามคำว่า ลูกจ้าง นายจ้าง ไม่ผิดนะ ถ้ามีการตกลงการว่าจ้างเป็นหลังสือ ลายลักษณ์อักษร แต่จะผิดตรงที่ว่า จป.ทำงานไม่เต็มเวลานี่แหละ (แต่ก็ให้ตรวจสอบอีกครั้งนะคะ)

3. บริษัท มี จป.ประจำอยู่แล้วหรือป่าว?? แค่ให้คุณมาช่วย ทำเป็นโครงการๆ หรือว่ายังไงค่ะ เพราะถ้าเป็น จป.ไซต์ก่อสร้าง ก็จะเจอว่าเป็น จป.วิชาชีพตามสัญญาจ้างก็เยอะนะ โครงการ 2 ปี 3 ปี งี่ 






ที่มา....นานาน่ารู้

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ

ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ


คำถาม
เนื่องจาก บริษัทฯ เข้าข่ายสถาบันทางการเงิน ซึ่งไม่ต้องมี จป.วิชาชีพ แต่บริษัทฯ ต้องการคนที่มีความรู้จริง ๆ มีทำงานจึงรับผู้ที่จบ ป.ตรี อาชีวอนามัยฯ มาทำงาน มีคำถามดังนี้ค่ะ
1. ต้องให้พนักงานผู้ที่ จบ ป.ตรี อาชีวอนามัย ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ หรือไม่ หากไม่ขึ้นมีผลกระทบอะไรบ้าง
2. พนักงานท่านนั้นหากไม่ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ สามารถรับรองรายงานการตรวจแสงได้หรือไม่
3. พนักงานท่านนั้นหากไม่ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ สามารถอบรมพนักงานทั่วไปและพนักงานใหม่ ตามที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่
4. พนักงานท่านั้นหากไม่ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ สามารถเป็นเลขาฯ คปอ. ได้หรือไม่

เนื่องจากมีการสอบถามจากหน่วยงานราชการบ้างแล้วได้รับข้อมูลที่ยังไม่มั่นใจเท่าไหร่จึงอยากขอความเห็นเพิ่มเติมจากคนวิชาชีพค่ะ

ข้อมูลจากหน่วยงานราชการคือ
1. ไม่ต้องขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ ก็ได้เนื่องจากผู้ที่จบตรง ก็มีศักดิ์และสิทธิ์ในการเป็น จป.วิชาชีพอยู่แล้ว ----> ข้อนี้ที่ทำให้งงเพราะถ้าจบตรงแล้วเป็นจป.วิชาชีพได้เลยจะมีการขึ้นทะเบียนทำไมอีก ในกฎกระทรวงปี 49 บอกว่าเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น จป.วิชาชีพ นั่นหมายถึงสามารถเป็นโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน???
2. สามารถรับรองรายงานการวัดแสงได้เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็น จป.วิชาชีพ ตามที่เรียนจบมาอยู่แล้ว โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ
3. เนื่องจาก จบตรง ไม่ต้องขึ้นทะเบียนก็สามารถสอนได้ โดยดูจากประวัติการทำงานหากมีหนังสือผ่านงานก็สอนได้ ไม่ต้องขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพอีก (ไม่ได้ถามเรื่องขึ้นทะเบียนเป็นวิทยากร)
4. ผู้ที่จบตรง สามารถเป็นเลขาฯ คปอ. ได้อยู่แล้ว เนื่องจากมีสิทธิ์เป็น จป.วิชาชีพ ตามปริญญาที่จบมา

จากข้อมูลที่หน่วยงานราชการแจ้งมาโดยการสอบถามของฝ่ายกฎหมายทำให้งงอยู่บ้าง การจบ ป.ตรี อาชีวอนามัย สามารถเป็น จป.วิชาชีพ และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย รับรองรายงานต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน


   คำตอบ

1. การเป็น จป.วิชาชีพ ในปัจจุบันต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายครับ คือ 1.1 แบบจบตรง คือจบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า 1.2 แบบอบรม เคยเป็น จป.วิชาชีพจากการอบรมตามกฎหมายเก่ามาก่อนและผ่านการอบรมเพิ่มเติม 42 ชั่วโมงจากกฎหมาย 2549 แล้ว

2. เช่นเดียวกับข้อ 1 ไม่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน จป. สามารถรับรองผลการวัดแสงได้ครับ เฉพาะภายในสภานประกอบการของ จป.เท่านั้น

3. จป.วิชาชีพ สามารถอบรมพนักงานภายในสถานประกอบการได้ครับ ตามที่กฎหมายกำหนดคือต้องมีประสบการณ์ในการอบรมอย่างน้อย 1 ปีในหลักสูตรที่อบรม และต้องออกใบประกาศให้พนักงานที่อบรมด้วย จป.ที่จบใหม่คงต้องเก็บประสบการณ์ไปก่อน จึงจะรับรองใบประกาศได้ครับ โดยต้องมีหนังสือรับรองการเป็นวิทยากรจากนายจ้างเป็นตัวยืนยันคุณสมบัติการเป็นวิทยากรในหลักสูตรนั้นๆ

4. จป.วิชาชีพ เป็น เลขานุการ ของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ โดยตำแหน่งและกฎหมายกำหนดอยู่แล้วครับ จป.วิชาชีพ คนไหนไม่เป็นเลขานุการ ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ของ จป.วิชาชีพ ตามกฎหมายครับ

สรุปคือ คุณสมบัติการเป็น จป.วิชาชีพ ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนครับ การขึ้นทะเบียนเป็นเพียงขัั้นตอนที่นายจ้างที่เข้าข่ายตามกฎหมายต้องแจ้งให้ทราบว่ามี จป.วิชาชีพ ทำงานในสถานประกอบการเท่านั้น และเพื่อตรวจสอบว่า จป.วิชาชีพคนนั้นไม่ทำงานหลายที่




ที่มา....http://www.siamsafety.com/index.php?page=forums/view&type_forum=2&ps_session=0b607080f3e08d75c7f6614c04bcc337&message_id=65779

เรียนเป็น จป.วิชาชีพทำหน้าที่อะไร

 

1. ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ : Safety Officer)
มีหน้าที่ดูแล ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตในการทำงาน และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เป็นตำแหน่งที่มี กฎหมายบังคับนายจ้างต้องมี จึงเป็นวิชาชีพขาดแคลนอีกสาขาหนึ่ง

พรรคพวกเป็นผู้รับเหมาติดตั้งไฟฟ้าถามว่า safety ในโรงงานทำไมมันใหญ่จัง กฎกติกาป้องกันอุบัติเหตุเยอะ ถ้าไม่ทำตามก็เข้าโรงงานไม่ได้ และสงสัยว่าจบสาธารณสุข ทำไมมาทำงาน safety ได้ เพราะจป.วิชาชีพมักบอกว่าจบสาธารณสุข แต่ไม่บอกสาขาอะไร เหมือนคนมักบอกเรียนวิศวะแต่ไม่บอกว่าสาขาอะไร

2. กระทรวงแรงงาน ออกกฎหมายเรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 เป็นเรื่อง จป.วิชาชีพโดยเฉพาะ

3. กฎหมายบังคับนายจ้างที่ไหนบ้าง  จะครอบคลุมครบทุกกิจการ คือ
-   โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท  (เงินเดือนเท่าวิศวกร)
-   งานก่อสร้างทุกประเภท (บริษัทก่อสร้างกำลังขาดแคลน : เงินเดือนเท่าวิศวกร)
-   โรงกลั่นน้ำมัน เจาะ ขุด บนบก ทะเล (เงินเดือนดีมาก)
-   ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี (เงินเดือนดีมาก)
-   เหมืองแร่ เหมืองถ่านหิน
-   กิจการขนส่งทุกประเภท
-   การไฟฟ้า การประปา
-   โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถาบันการเงิน สถานบันเทิง
-   และอื่นๆที่กระทรวงแรงงานจะประกาศเพิ่มเติมภายหลัง

4. ลอง search คำว่า จป.วิชาชีพ ใน google จะพบว่าเรื่องราว จป.วิชาชีพมากมาย

ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ  กฎหมายกำหนดต้องจบสาขาอาชีวอนามัยหรือสาขาเทียบเท่า ซึ่งสาขาเทียบเท่าหมายถึงใช้ชื่ออื่นเช่นสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย  วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย

5. มีเว็บเกี่ยวกับ จป.วิชาชีพมากจริงๆ เช่น jorpor.com , oshthai.org , shawpat.or.th , siamsafety.com  เว็บชมรม จป. เช่น safetypasak.com จะพบ link ไปอีกมากมาย
อยากทราบว่างาน จป.วิชาชีพ มีตำแหน่งมากจริงหรือไปที่ jobthai.com หรืออื่นๆก็ได้ แล้วหาตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มีงานรอเพี๊ยบ บริษัทก่อสร้างยิ่งต้องการมาก

6.  จป.วิชาชีพ มี 2 หลักสูตรคือ
6.1)  รับ ม.6 (วิทย์-คณิต) หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ขอนแก่น บูรพา วลัยลักษณ์ ทักษิณ สุรนารี ธรรมศาสตร์ อุบลราชธานี นเรศวร แม่ฟ้าหลวง  ถ้า ม.ราชภัฏจะใช้ชื่อสาขาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย

6.2)  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย ม.เอเชียอาคเนย์ ขณะนี้เป็นแห่งเดียวที่ได้วุฒิวิศวะ (sau.ac.th/safety)
-จบ ม.6 / ปวช. หลักสูตร 4 ปี (139หน่วยกิต)
-จบ ปวส.สาขาช่าง คอมฯธุรกิจ สารสนเทศ หลักสูตร 3 ปี (109 หน่วยกิต)

จงเลือกสาขาที่ชอบและหางานทำง่าย เพราะคืออาชีพอนาคต ลองเปิดวารสารหางาน เว็บหางาน มีตำแหน่งสาขาที่น้องๆกำลังจะเลือกไหม
 
 
ที่มา...http://data.bn.ac.th/forum/index.php?topic=796.0

ดูก่อน ท่านทั้งหลาย...Safety Officer


เอามาลงเผื่อๆไว้นะคะ  ความรู้นิดหน่อยๆ


ดูก่อน ท่านทั้งหลาย...Safety Officer (จป.) มีหลายระดับตามที่กฏหมายกำหนด ในกฎหมายกำหนด จัดให้มีจป. ขึ้นอยู่กับจำนวนของพนักงานในสถานประกอบการนั้นๆ จำนวนพนักงานเป็นตัวกำหนดให้มีระดับของ จป.ที่แตกต่างกัน สำหรับ จป. ที่จบจากภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดเป็น จป. ในระดับวิชาชีพ มีความสามารถ มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยขึ้นในสถานประกอบการโดยองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งด้านวิศวกรรม ด้านสุขภาพ ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปควบคุม บริหารจัดการความเสี่ยงอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน

หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนี้ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี เรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
เมื่อจบแล้ว จะแปลงร่างกลายเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับวิชาชีพ (Safety Officer)โดยอัตโนมัติ ทำหน้าที่อะไร? คร่าวๆ เข้าใจง่ายที่สุด คือ ดูแลความปลอดภัย สุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน พนักงาน แรงงาน คนทำงานในสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงดูแลสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุด ขณะเดียวกัน ต้องไม่ทำร้าย ทำลายสุขภาพทั้งทางกายและทางใจของผู้ทำงาน นักอาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป. จะเป็นคำเรียก สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรอาชีวอนามัย
หากผู้อ่านสนใจ สามารถเข้าเยี่ยมชม เวบของภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตามลิงค์ที่แนบค่ะ...^
_^

เริ่มทำงานตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Officer) จะเริ่มทำอะไรก่อน

เริ่มทำงานตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Officer) จะเริ่มทำอะไรก่อน

     
คำถามยอดนิยม ที่หลายคนมาถามกันในเว็บบอร์ด คือ หาก เริ่มทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Officer) จะเริ่มทำอะไรก่อน คำตอบของคำถามนี้ก็คงแตกต่างกันไปตามการทำงานของแต่ละท่าน แต่ในส่วนตัวของผม เป็นดังนี้

1. ค้นหาข้อมูลของสถานประกอบการที่เราทำงาน ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ประเภทกิจการ ,จำนวนพนักงาน ,โครงสร้างองค์กร ,ขั้นตอนการทำงาน ,เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในสถานประกอบการ ,สารเคมีในสถานประกอบการ , มาตรฐานความปลอดภัยที่สถานประกอบการเข้าร่วม ,สถิติิุอุบัติเหตุ และรายละเอียดงานด้านความปลอดภัยที่สถานประกอบการปฏิบัติอยู่ เป็นต้น

2. เมื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาศึกษาว่า มีประเด็นไหนบ้าง ที่สถานประกอบการไม่ได้ปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้ทำการเสนอให้นายจ้างให้ปฏิบัติตามข้อกฏหมายที่มี ในกรณีที่บริษัทมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เหนือกว่ากฏหมายไทย ให้ยึดตามมาตรฐานที่เหนือกว่า (ในขั้นตอนนี้ จะรวมถึงการกำหนดแผนงานบางอย่างด้วย เช่น การจัดให้มีการอบรมดับเพลิง , ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ,ตรวจสอบเครนประจำปี เป็นต้น)

3. จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย และกำหนดวาระการประชุม

4.  ตรวจสอบเครื่องจักร และอุปกรณ์การทำงานว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบเครื่องจักร ในแต่ละเดือน

5.  ตรวจสอบการจัดเก็บสารเคเมีในสถานประกอบการ ว่ามีจัดเก็บที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

6.  ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานทั้งหมด รวมถึงการใช้เครื่องจักร และสารเคมี ว่ามีขั้นตอนที่ถูกต้อง หรือไม่ และมีอันตรายใดบ้างที่อาจจะเกิดได้ (ค้นหาอันตราย) ในขั้นตอนนี้ควรนำสถิถิอุบัติเหตุมาตรวจสอบด้วยว่าเคยมีอุบัติเหตุอะไรเกิดขึ้นแล้วบ้าง และสถานประกอบการทำการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำแล้วหรือไม่ (ขั้นตอนนี้รวมถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง การยศาสตร์)

7. เมื่อพบอันตรายจากขั้นตอนที่ 5 แล้ว ให้นำมาประเมินความเสี่ยง และหาทางป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้น

8.  นำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำเอกสาร ในการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เช่น เอกสารตรวจสอบเครื่องจักร ,อุปกรณ์ไฟฟ้า ,ระบบดับเพลิง เป็นต้น

9. จัดทำหลักสูตรและจัดให้มีการอบรมพนักงานใหม่ ให้ทราบถึงกฏระเบียบ และวิธีทำงานที่ปลอดภัยในสถานประกอบการ

10. จัดทำแผนงานความปลอดภัย รายเดือน รายปี

11. จัดทำแผนฉุกเฉิน กำหนดจุดรวมพล

12. จัดกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การจัดบอร์ด จัดนิทรรศการ

13. เตรียมรายงานส่งราชการ

ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่จำเป็นว่าต้องทำอย่างใดให้เสร็จก่อน แล้วจึงเริ่มต้นอีกอย่างนะครับ หลายอย่างสามารถทำไปได้พร้อมๆกัน ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี       รายละเอียดเรื่อง งานด้านความปลอดภัยมีมากครับ แต่ถ้าทำได้ตามขั้นตอนที่ผมกล่าวมาข้างต้น คิดว่าทุกอย่างคงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้ว


ที่มา....http://www.thaisafetywork.com

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัตความปลอดภัย อาชีวอนามัและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ ตอนที่ 3 จบละค่ะ

พระราชบัญญัตความปลอดภัย อาชีวอนามัและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ.  ๒๕๕๔



ก่อนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  จะต้องมีคําเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในระยะเวลาที่กําหนด  คําเตือนดังกล่าว
จะกําหนดไปพร้อมกับคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยก็ได้
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อเป็นเงินทดรองจ่ายในการดําเนินการได้  และเมื่อได้รับเงินจากนายจ้างแล้วให้ชดใช้เงินช่วยเหลือที่ได้รับมาคืนแก่กองทุน
มาตรา  ๓๘  ให้อธิบดีมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรั พย์สิ นของนายจ้างซึ่งไม่จ่ายค่าใช้จ่ายในการดําเนิ นการตามมาตรา ๓๗ ทั้ งนี้ เพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อเป็น
ค่าใช้จ่ายสําหรับการเข้าจัดการแก้ไขตามจํานวนที่จ่ายจริง
การมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะกระทําได้ต่อเมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างนําเงินค่าใช้จ่ายมาจ่ายภายในระยะเวลาที่กําหนด  แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างได้รับหนังสือนั้นและนายจ้างไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่กําหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้หักไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดและชําระค่าใช้จ่ายที่นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายตามมาตรา  ๓๗  ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่นายจ้างโดยเร็ว
โดยให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีหนังสือแจ้งให้ทราบเพื่อขอรับเงินที่เหลือคืนโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถ้านายจ้างไม่มาขอรับคืนภายในห้าปีนับแต่วันได้รับแจ้ง  ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน
มาตรา  ๓๙  ระหว่างหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิตตามมาตรา  ๓๖  ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการหยุดการทํางานหรือการหยุดกระบวนการผลิตนั้นเท่ากับค่าจ้าง
หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ลูกจ้างต้องได้รับ  เว้นแต่ลูกจ้างรายนั้นจงใจกระทําการอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต
มาตรา  ๔๐  ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา  ๓๖  วรรคหนึ่งหากนายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบคําสั่ง  ให้อธิบดีวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับอุทธรณ์  คําวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง หากนายจ้าง  ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
ทราบคําสั่ง  ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับอุทธรณ์  คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์ ย่อมไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย  เว้นแต่อธิบดีหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
มาตรา  ๔๑  ในการปฏิบัติตามหน้าที่  พนักงานตรวจความปลอดภัยต้องแสดงบัตรประจําตัวเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอบัตรประจําตัวพนักงานตรวจความปลอดภัย ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา  ๔๒  ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง  หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างดําเนินการฟ้องร้องหรือเป็นพยานหรือให้หลักฐานหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัตินี้หรือต่อศาล
มาตรา  ๔๓  ในกรณีที่นายจ้าง  ลูกจ้าง  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๖  ภายในระยะเวลาที่กําหนด  การดําเนินคดีอาญาต่อนายจ้างลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เป็นอันระงับไป
หมวด ๖กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้ อมในการทํางาน
มาตรา  ๔๔  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรียกว่า
“กองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน”  เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๔๕  กองทุนประกอบด้วย
(๑)  เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒)  เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
(๓)  เงินค่าปรับที่ได้จากการลงโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔)  เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๕)  เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให

(๖)  ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินของกองทุน
(๗)  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓
และมาตรา ๓๓
(๘)  ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๙)  รายได้อื่น ๆ
มาตรา  ๔๖  เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้
(๑)  การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานและการพัฒนา  แก้ไขและบริหารงานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ  สมาคม  มูลนิธิ  องค์กรเอกชน  หรือบุคคลที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดําเนินการส่งเสริม  สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการพัฒนางานด้าน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและตามมาตรา ๓๐
(๔)  สนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๕)  ให้นายจ้างกู้ยืมเพื่อแก้ไขสภาพความไม่ปลอดภัย  หรือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคอันเนื่องจากการทํางาน
(๖)  เงินทดรองจ่ายในการดําเนิ นการตามมาตรา ๓๗
การดําเนินการตาม(๑) (๒) (๓) (๔) (๕)  และ(๖)  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด  และให้นําเงินดอกผลของกองทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตาม(๑) (๒) และ(๓)  ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบห้าของดอกผลของกองทุนต่อปี
มาตรา  ๔๗  เงินและทรัพย์สินที่กองทุนได้รับตามมาตรา  ๔๕  ไม่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา  ๔๘  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า“คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เป็นประธานกรรมการ ผู ้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสํานักงานประกันสังคม  ผู้แทนสํานักงบประมาณและผู้ทรงคุณวุฒิอีกคนหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละห้าคนเป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิงและชาย
มาตรา  ๔๙  ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับกับการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมของคณะกรรมการบริหาร
กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และให้นํามาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
กับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานโดยอนุโลม
มาตรา  ๕๐  ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  กํากั บการจัดการและบริหารกองทุน
(๒)  พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการช่วยเหลือและการอุดหนุน การให้กู้ยืม การทดรองจ่ายและการสนับสนุนเงินในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงินกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ของเงินกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๔)  วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิ ธีการ และเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุน
การขอเงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุน  การอนุมัติเงินทดรองจ่าย  การขอเงินทดรองจ่าย  การให้กู้ยืมเงินและการชําระเงินคืนแก่กองทุน
(๕)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา  ๕๑  ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี  ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงิน
กองทุนในปีที่ล่วงมาแล้วต่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบรับรองและเสนอต่อคณะกรรมการงบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินดังกล่าว  ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรี
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๗สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๕๒  ให้มีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และมีอํานาจ
หน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  พัฒนาและสนับสนุนการจัดทํามาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ดําเนินการ  ส่งเสริม  สนับสนุน  และร่วมดําเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของภาครัฐและเอกชน
(๔)  จัดให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านวิชาการ
(๕)  อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในกฎหมาย
ให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี  ทั้งนี้  ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ
หมวด ๘
บทกําหนดโทษ
มาตรา  ๕๓  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม
มาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๔  ผู้ใดมีหน้าที่ในการรับรอง  หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน  หรือรายงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา  ๘  วรรคสอง  กรอกข้อความอันเป็นเท็จในการรับรองหรือตรวจสอบ
เอกสารหลักฐานหรือรายงาน  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา  ๕๕  ผู้ใดให้บริการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง  ประเมินความเสี่ยงจัดฝึกอบรม หรือให้คําปรึกษาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา  ๙  หรือไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา  ๑๑
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๖  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๗  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๔  หรือมาตรา  ๓๔  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา  ๕๘  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๕  หรือมาตรา  ๑๗  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดื อน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๙  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๘  วรรคหนึ่ง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๐  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๘  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรั บไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๑  ผู้ใดขัดขวางการดําเนินการของนายจ้างตามมาตรา  ๑๙  หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัย  หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา  ๓๗  วรรคหนึ่ง
โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๒  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๓  ผู้ใดกระทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๔  ผู ้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๕  หรือมาตรา  ๓๖  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๕  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา ๓๖วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา  ๖๖  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือกระทําการอย่างหนึ่ งอย่างใดเพื่ อให้สิ่ งที่ พนักงานตรวจความปลอดภัยสั่งให้ระงับการใช้หรือผูกมัดประทับตราไว้กลับใช้งานได้อีกระหว่างการปฏิบัติตามคําสั่ง
ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๖  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ  และปรับอีกเป็นรายวันไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่า
จะดําเนินการตามคําสั่ง
มาตรา  ๖๗  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา  ๖๘  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  ๔๒  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน  หรือปรับ
ไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๙  ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่
ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา  ๗๐  ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปกติวิสัยของนายจ้างจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผยซึ่งผู้นั้นได้หรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเนื่องจาก
การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ  เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้
หรือเพื่อประโยชน์แก่การคุ ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ หรือการสอบสวนหรือพิจารณาคดี
มาตรา  ๗๑  บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท  ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้  เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควร
ถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้
(๑)  อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(๒)  ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย  สําหรับความผิดที่เกิดขึ้น
ในจังหวัดอื่นในกรณีที่มีการสอบสวน  ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดที่เจ้าพนักงานมีอํานาจเปรียบเทียบได้ตามวรรคหนึ่งและบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ  ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้กระทําผิดได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถ้าผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายใน
กําหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ดําเนินคดีต่อไป
มาตรา  ๗๒  การกระทําความผิดตามมาตรา  ๖๖  ถ้าคณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งประกอบด้วยอธิบดี  ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติหรือผู้แทน  และอัยการสูงสุด  หรือผู้แทน
เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง  ให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้  และให้นํา
มาตรา ๗๑ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
มาตรา  ๗๓  ในวาระเริ่ มแรก  ให้คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้ อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา  ๗๔  ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง  ประกาศ  หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นํากฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.  ๒๕๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม




ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตร

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ (ตอนที่2)



พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ.  ๒๕๕๔ 


มาตรา  ๑๗  ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ
ความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่
ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ
มาตรา  ๑๘  ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง  ให้นายจ้างทุกราย
ของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น  มีหน้าที่ร่วมกันดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบ
กิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง  ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย
มาตรา  ๑๙  ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด
ที่นํามาใช้ในสถานประกอบกิจการ  ให้นายจ้างมีอํานาจดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น
ตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร  สถานที่  เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดซึ่งให้เช่า หรือผู้ให้เช่าในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใด ๆ
ตลอดจนการบอกเลิกสัญญาเช่า
มาตรา  ๒๐  ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒
มาตรา  ๒๑  ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนด
ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
โดยคํานึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย  และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน  หัวหน้างาน  หรือผู้บริหาร  และให้เจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริ หาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย
ต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย  ต้องดําเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขต
ที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ  กรณีไม่อาจดําเนินการได้  ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้าง
ดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า
มาตรา  ๒๒  ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์
ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน
ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว  ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทํางานนั้นจนกว่า
ลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว
มาตรา  ๒๓  ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
มีหน้าที่ดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานของลูกจ้าง
เช่นเดียวกับนายจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง  และมีผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป  ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป
ตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นที่มีลูกจ้างทํางานในสถานประกอบกิจการเดียวกัน  มีหน้าที่ร่วมกันในการ
จัดสถานที่ทํางานให้มีสภาพการทํางานที่ปลอดภัย  และมีสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ถูกสุขลักษณะ
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างทุกคน
หมวด ๓
คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๒๔  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า“คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” ประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ  อธิบดี
กรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  และอธิบดีกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน  เป็นกรรมการ  กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง  ฝ่ายละแปดคน
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการ
การได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด  โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วม
ของทั้งหญิงและชาย
ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิง
และชาย
มาตรา  ๒๕  คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย  แผนงาน  หรือมาตรการความปลอดภัย
อาชีวอนามั ย และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบ เพื่อปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)  ให้ความเห็นแก่หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๔)  วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๓๓ วรรคสาม และมาตรา ๔๐ วรรคสอง
(๕)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่
ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา  ๒๖  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ  ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการ
แทนตําแหน่งที่ว่าง  และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่
ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ  แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่
ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที ่ได้รับแต่งตั้งจะเข้ารับหน้าที่
มาตรา  ๒๗  นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา  ๒๖  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
พ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(๑)  ตาย
(๒)  ลาออก
(๓)  รัฐมนตรีให้ออก เมื่อขาดประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔)  เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)  เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
(๖)  เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗)  ต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๘)  ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก  เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้
กระทําโดยประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา  ๒๘  การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน
กรรมการทั้งหมด โดยมี กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน  จึงจะเป็น
องค์ประชุม
ในการประชุมเพื่อพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คราวใด  ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กําหนดไว้
ในวรรคหนึ่ง ให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก  การประชุมครั้ง
หลังแม้ไม่มีกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างมาร่วมประชุม  ถ้ามีกรรมการมาประชุม
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด  ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมสําหรับการประชุมคราวนั้น
มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ถ้าคะแนนเสียง
เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา  ๒๙  คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
ให้คณะกรรมการกําหนดองค์ประชุมและวิธีดําเนินงานของคณะอนุกรรมการได้ตามความ
เหมาะสม
มาตรา  ๓๐  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม
และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา  ๓๑  ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กระทรวงแรงงานรับผิดชอบงานธุรการ
ของคณะกรรมการ และมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  สรรหา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานเพื่อการจัดทํานโยบาย  แผนงาน  โครงการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๒)  จัดทําแนวทางการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓)  จัดทําแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ประจําปีเสนอต่อคณะกรรมการ
(๔)  ประสานแผนและการดําเนินการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตลอดจน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕)  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามมติของคณะกรรมการ
(๖)  รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการ
(๗)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุ กรรมการมอบหมาย
หมวด ๔
การควบคุม กํากับ ดูแล
มาตรา  ๓๒  เพื่อประโยชน์ในการควบคุม  กํากับ  ดูแลการดําเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  จัดให้มีการประเมินอันตราย
(๒)  ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทํางานที่มีผลต่อลูกจ้าง
(๓)  จัดทําแผนการดําเนินงานด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางานและจัดทําแผนการควบคุมดูแลลูกจ้ างและสถานประกอบกิจการ
(๔)  ส่งผลการประเมินอันตราย  การศึกษาผลกระทบ  แผนการดําเนินงานและแผนการ
ควบคุมตาม(๑) (๒)  และ(๓)  ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ประเภทกิจการ  ขนาดของ
กิจการที่ต้องดําเนินการ  และระยะเวลาที่ต้องดําเนินการ  ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคําแนะนําและได้รับการรับรองผล
จากผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๓๓  ผู้ใดจะทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทํางานจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีตามพระราชบัญญัติ
การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ชํานาญการ  การควบคุมการปฏิบัติงาน
ของผู้ได้รับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักใช้  และการเพิกถอน
ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับการอนุญาตเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยอนุโลม
มาตรา  ๓๔  ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง  หรือลูกจ้างประสบ
อันตรายจากการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต  ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ
โดยโทรศัพท์  โทรสาร  หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร  และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ
เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต
(๒)  กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต  หรือมีบุคคล
ในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย  อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้  การระเบิด
สารเคมีรั่วไหล หรืออุบั ติภัยร้ายแรงอื่น  ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ
โดยโทรศัพท์  โทรสาร  หรือวิธีอื่นใด  และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น
ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ําอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ
(๓)  กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้าง
แจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสํานักงานประกันสังคมตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว  ให้นายจ้าง
ส่งสําเนาหนังสือแจ้งนั้นต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในเจ็ดวันด้วย
การแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและเมื่อพนักงาน
ตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ ดําเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว
หมวด ๕
พนักงานตรวจความปลอดภัย
มาตรา  ๓๕  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานตรวจความปลอดภัย
มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑)  เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้างในเวลาทําการหรือเมื่อเกิด
อุบัติภัย
(๒)  ตรวจสอบหรือบันทึกภาพและเสียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เกี่ยวกับ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดหรือตรวจสอบเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในสถานประกอบกิจการ
(๔)  เก็บตัวอย่างของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มาเพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัย
(๕)  สอบถามข้อเท็จจริง  หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ  ภายในขอบเขตอํานาจและเรียกบุคคล
ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง  รวมทั้งตรวจสอบหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะมาตรการ
ป้องกันอันตรายต่ออธิบดีโดยเร็ว
มาตรา  ๓๖  ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยพบว่า  นายจ้าง  ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้  หรือพบว่า
สภาพแวดล้อมในการทํางาน  อาคาร  สถานที่  เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ลูกจ้างใช้จะก่อให้เกิดความ
ไม่ปลอดภัยแก่ลูกจ้าง ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการกระทําที่ฝ่าฝืน  แก้ไข
ปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาสามสิบวัน ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจดําเนินการ
ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้  พนักงานตรวจความปลอดภัยอาจขยายระยะเวลาออกไปได้
ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว
ในกรณีจําเป็นเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย  ให้พนักงานตรวจ
ความปลอดภัยมีอํานาจสั่งให้หยุดการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ หรือผูกมัดประทับตราสิ่งที่อาจจะ
ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อลูกจ้างดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว  ในระหว่าง
การปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยได้ เมื่อนายจ้างได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามคําสั่ง
ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามวรรคหนึ่งแล้ว  ให้นายจ้างแจ้งอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
เพื่อพิจารณาเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้
มาตรา  ๓๗  ในกรณีที่ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคําสั่ งของพนักงานตรวจความปลอดภัย
ตามมาตรา  ๓๖  ถ้ามีเหตุอันอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สมควรเข้าไปดําเนินการแทน  ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจสั่งให้พนักงานตรวจ
ความปลอดภัยหรือมอบหมายให้บุคคลใดเข้าจัดการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งนั้นได้  ในกรณีเช่นนี้
นายจ้างต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการเข้าจัดการแก้ไขนั้นตามจํานวนที่จ่ายจริง

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ ร.9 ให้ประกาศว่า (ตอนที่ 1)

พระราชบัญญัติ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พ.ศ.  ๒๕๕๔


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.     ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.  ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา  ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.  ๒๕๕๔”
มาตรา  ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา  ๓  พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)  ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒)  กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้ราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่น  และกิจการอื่นตามที่กําหนด
ในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานในหน่วยงานของตนไม่ต่ํากว่ามาตรฐานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
“ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่า  การกระทํา
หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ
หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทํ างาน
“นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถาน
ประกอบกิจการ  ไม่ว่าการทํางานหรือการทําผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด
ในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม
“ลูกจ้าง” หมายความว่า  ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการในหน่วยงานขึ้นไป
“หัวหน้างาน” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่ควบคุม  ดูแล  บังคับบัญชาหรือสั่งให้ลูกจ้าง
ทํางานตามหน้าที่ของหน่วยงาน
“เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน”  หมายความว่า  ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติ
หน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
“สถานประกอบกิจการ”  หมายความว่า  หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มีลูกจ้างทํางาน
อยู่ในหน่วยงาน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า  คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน
“กองทุน”  หมายความว่า  กองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางาน
“พนักงานตรวจความปลอดภัย” หมายความว่า  ผู้ซึ่ งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๕  ให้รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานตรวจความปลอดภัยกับออกกฎกระทรวง  ประกาศ  และระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  รวมทั้งออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตรา
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และยกเว้นค่าธรรมเนียม
การแต่งตั้งพนักงานตรวจความปลอดภัยต้องกําหนดคุณสมบัติ  ขอบเขต  อํานาจหน้าที่
และเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย
กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา  ๖  ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพ
การทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ  รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน
การปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบ
กิจการ
มาตรา  ๗  ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดให้นายจ้างต้องดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้ จ่ายเพื่อการนั้น
หมวด ๒
การบริหาร  การจัดการ และการดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๘  ให้นายจ้างบริหาร  จัดการ  และดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
การกําหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง  ให้นายจ้างจัดทําเอกสารหรือรายงานใด  โดยมีการ
ตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
มาตรา  ๙  บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง
ประเมินความเสี่ยง  รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คําปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา  ๘  จะต้อง
ขึ้นทะเบียนต่อสํานักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน  การเพิกถอน
ทะเบียน  การกําหนดค่าบริการ  และวิธีการให้บริการตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ
และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา  ๑๐  ในกรณีที่สํานักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่รับ
ขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนทะเบียนตามมาตรา ๙ ผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือผู้ถูกเพิกถอนทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์
เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการไม่รับขึ้นทะเบียนหรือการเพิกถอนทะเบียน
คําวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
มาตรา  ๑๑  นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง
ประเมินความเสี่ยง  รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คําปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ จะต้องได้รับ
ใบอนุญาตจากอธิบดี
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การขออนุญาต การอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต  การออกใบ
แทนใบอนุญาต การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต  การกําหนดค่าบริการ  และวิธีการให้บริการตาม
วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา  ๑๒  ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ออกใบแทนใบอนุญาต
หรือพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา  ๑๑  นิติบุคคลนั้นมีสิทธิ
อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของอธิบดีแจ้งการไม่ออก
ใบอนุญาต หรือการไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา  ๑๓  ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน  บุคลากร  หน่วยงาน
หรือคณะบุคคลเพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์  วิธีการ
และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ให้นําบทบัญญัติมาตรา  ๙  วรรคสอง  และมาตรา  ๑๐  มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน โดยอนุโลม
มาตรา  ๑๔  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการ
ทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย  ให้นายจ้างแจ้ง
ให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่
ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน
มาตรา  ๑๕  ในกรณีที่นายจ้างได้รับคําเตือน  คําสั่ง  หรือคําวินิจฉัยของอธิบดี  คําสั่งของ
พนักงานตรวจความปลอดภัย  หรือคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายจ้างแจ้งหรือปิดประกาศคําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยดังกล่าว ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบ
กิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้ง
มาตรา  ๑๖  ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร  หัวหน้างาน  และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  เพื่อให้บริหารจัดการ  และดําเนินการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย
ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน  เปลี่ยนงาน  เปลี่ยนสถานที่ทํางาน  หรือเปลี่ยนแปลง
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์  ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย
ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางาน
การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่
อธิบดีประกาศกําหนด

งานสัปดาห์ความปลอดภัย



สวัสดีค่าาาาาาาาาาาาาา
หายไปนานเลย  ไม่ได้ไปไหนนะคะ  แอดมินไปแอบซุ่มดูงานมา 
ณ  ราชบุรีค่ะ
วันเซฟตี้เดย์หรืองานสัปดาห์ความปลอดภัยนั่นเองค่ะ
เดินไปเดินมา  ก็เลยหารูปนิสๆหน่อยๆมาลงให้ดู
เน้นว่านิดๆหน่อยๆจริงๆค่ะ
เพราะแอดมินต้องทำเวลาที่ค่อนข้างจะมีน้อยมากกกกกกกก 




คอนเซ็ปงานก็ประมาณนี้นะคะ

เพื่อรณรงค์ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของกลุ่มบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ให้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิชาการ แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาและเป็นแหล่งแสดงผลงานวิชาการด้านความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนทำงาน ความเสียหายและความทุกข์ของคนที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน รวมถึงความเสียหายจากทุกคนที่มีส่วนได้รับจากการนั้นด้วย จากข้อมูลสถิติ พบว่า ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานร้อยละ 4.6 ต่อ 1,000 คนต่อปี โดยกรมฯ ตั้งเป้าหมายว่า จะลดลงให้ได้ร้อยละ 2 ต่อปี จนกระทั่งสถิติลดลงเหลือศูนย์ แต่ทั้งนี้   คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการค้าในระดับเวทีโลกได้




โรงงานและสถานประกอบการเข้ารับรางวัล 

โรงงานดีเด่น  0 accident

บู๊ทโรงงานผลิตถังดับเพลิง




ความรู้ที่แอดมินได้มานะคะ ก็มีเรื่องวัฒนธรรมการขับเคลื่อนความปลอดภัย  เหมือนๆวัฒนธรรมบ้านเรานี่แหละค่ะ ที่ค่อนข้างต้องใช้เวลานานนับ สิบๆปีเลยทีเดียวในการสร้างขึ้นมา  แต่แอดมินว่าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเราปฏิบัติตามก็ดีนะคะ
ยกตัวอย่างแบบ เวลาเราขับรถคนสมัยก่อนไม่ค่อยจะคาดเข็มขัด  บางคนแบบแทบจะไม่รู้เลยว่าเข็มขัดมีไว้เพื่ออะไร ใช่ไม๊คะ
แล้วเขาก็มีพัฒนาขึ้นมา เป็นการส่งสัญญาณเตือนบ้างเวลาไม่คาด มันก็จะร้องเตือนๆๆๆๆ จนกว่าเราจะใส่  เพราะรำคาญเสียงร้องของมัน   บางทีวิ่งๆไปโดนตำรวจปรับบ้าง 55555  ซึ่งพอปัจจุบัน  แอดมินว่าวิธีการเหล่านี้ก็ช่วยลดอาการบาดเจ็บเวลาเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้นนะคะว่าไหม???เอาเป็นว่า  เราปลอดภัยทำเลยดีกว่านะคะ  ดีกว่าปลอดภัยเอาไว้ก่อนค่ะ






 

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จป.ย่อมาจากอะไรและใครสามารถเป็น จป.ได้บ้าง

ตอบคำถามที่หลายๆคนน่าจะสนใจค่ะ  จป.คืออะไร  ย่อมาจากอะไร  ตอนแรกแอดมินก็สงสัย จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ยามหรอ  โอ้ววววไม่นะ  ลองมาดูกันเลยค่ะ  ว่าที่เราสงสัยจะใช่หรือไม่?????
 
 
 
จป. ย่อมาจากอะไร

 
จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานครับ บางท่านอาจจะสับสน คิดว่าเป็น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับ จป. ( เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ) นั้น เป็นตำแหน่งงานในสถานประกอบการซึ่ง กฎหมายบังคับให้ต้องมี ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ล่าสุด ให้อ่านตามนี้เลยครับ
 
–> กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. ๒๕๔๙ จากกฎกระทรวงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มี จป.อยู่หลายระดับ ครับ แต่ที่ทำหน้าที่หลักๆเต็มเวลา ในด้านความปลอดภัย ก็คือ จป.วิชาชีพนั่นเอง ซึ่ง ถ้าดูจากกฎกระทรวงดังกล่าว
กล่าวถึง จป.วิชาชีพไว้ดังนี้ครับ ข้อ ๑๖ ให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไปและสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๒) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๗ ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แล้วแต่กรณี..
 
 
 
 
 
 
 
จป.ยุคปัจจุบัน

             ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มีผลทำให้ประกาศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับปี 2540 ถูกยกเลิก (ตามมาตรา 166 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) โดยมีการเน้นด้านการจัดองค์กรด้านความปลอดภัยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดในเรื่อง จป. คณะกรรมการความปลอดภัยฯ และหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ โดยเฉพาะจป.นั้น ได้มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ และมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

    1) จป.ระดับหัวหน้างาน หมายถึง ลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.หัวหน้างาน)

    2) จป.ระดับบริหาร หมายถึง ลูกจ้างระดับบริหาร ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.บริหาร)

    3) จป.ระดับเทคนิค หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

        3.1 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        3.2 เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิค)

        3.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540

    4) จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

        4.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        4.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง )

        4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าและได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับพื้นฐานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง )

    5) จป.ระดับวิชาชีพ หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

        5.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

        5.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554

        5.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบ ในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เตรียมรื้อกฎกระทรวง ปรับคุณสมบัติ จป.

                      กสร.เตรียมรื้อกฎกระทรวง ปรับคุณสมบัติ จป.-อายุใบอนุญาตจากตลอดชีพเป็น 3-4 ปี หลังพบอุบัติเหตุในการทำงานบ่อยครั้ง ล่าสุดเกิดเหตุนั่งร้านถล่ม ย่านวัชรพล ผุดแนวคิดดึงหัวหน้างานอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย      
        วันนี้ (17 ก.พ.) นายพนิช จิตต์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงเหตุการณ์นั่งร้านถล่ม ขณะกำลังก่อสร้าง ศูนย์การค้า อาคาร 2 ชั้น ย่านวัชรพล เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา ว่า เหตุเกิดขณะมีการเทพื้นชั้น 2 และจำเป็นต้องสร้างนั่งร้านขึ้น แต่การสร้างนั่งร้านไม่ค่อยแข็งแรง ตามวิศวกรได้ออกแบบไว้ตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้จากการตรวจสอบเชื่อว่าวิศวกรอออกแบบไว้ดีแล้ว แต่การปฏิบัติอาจไม่ปลอดภัยมีการละเลยบางส่วน ส่งผลให้ฐานไม่มั่นคง เพราะพื้นดินอุ้มน้ำเกิดทรุดตัวและถล่ม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ซึ่งระหว่างการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง ทั้งนี้กสร. ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น เพราะมีกฎหมายเฉพาะ อย่างไรก็ตามทุกสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.)คอยกำกับดูแล และแจ้งผู้ประกอบการหากมีสิ่งผิดปกติ เพื่อความปลอดภัย และต้องอยู่พื้นที่ทำงานตลอดเวลา
      
        จากสถิติสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในการทำงาน พบว่าในช่วง 2 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 - มกราคม 2557 เกิดอุบัติเหตุ 8 ครั้ง ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มากกว่าปกติ อาจจะปรับใหม่ให้หัวหน้างานมาอบรม ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย” นายพานิช กล่าว
      
        นายพานิช กล่าวอีกว่า ในอนาคตจะเพิ่มความรับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ให้มีบทบาทในการดูแลเรื่องความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในงานก่อสร้างต่างๆ ที่มีการประสบอันตรายมากขึ้น เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการทำงานให้ลดลง ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ จป.ได้ ต้องจบการศึกษาหลักสูตร อาชีวอนามัย ปัจจุบันมีเพียง 30 มหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรนี้ ดังนั้นจึงเตรียมเชิญมหาลัยต่างๆ มาพูดคุยให้ควบคุมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าไปดูแล เพื่อประเมินว่านักศึกษามีศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยหรือไม่ ในช่วงปีสุดท้ายของการเรียน เพื่อให้ได้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่มีคุณภาพ
      
        “ผมมองว่าควรแก้ไขคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ จป.และค่าจ้างของ จป .ที่ต้องใช้ทักษะและฝีมือ โดยกำลังสำรวจ ว่าเจ้าหน้าที่ จป.แต่ละระดับควรมีค่าจ้างอัตราละเท่าไหร่ด้วย เชื่อว่า 2-3 เดือนการสำรวจจะแล้วเสร็จ โดยปัจจุบันเจ้าหน้าที่จป.มี 5 ระดับ เช่น จป.เทคนิค จป.เทคนิคชั้นสูง จป.วิชาชีพ จป.หัวหน้างาน และจป.บริหาร” นายพานิช กล่าว
      
        นอกจากนี้ยังเตรียมแก้ไขประกาศกฎกระทรวง เพื่อควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ จป. หากการปฏิบัติงานยังพบมีการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การพักใบอนุญาตการใช้ของเจ้าหน้าที่ จป. หรือ เพิกถอนใบอนุญาต หากปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง รวมทั้งกำลังพิจารณาเรื่องอายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ จป.ใหม่ จากตลอดชีพ เป็น 3-4 ปีด้วย


ฝากไว้เผื่อ จป. ท่านใดยังไม่ทราบข่าวหรือได้รับข้อมูล (แต่ปกติน่าจะทราบโดยทั่วกัน ถ้าเป็น จป.วิชาชีพ)  ค่า



ที่มา....http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000018780

หน้าที่ของ จป.

วันนี้แอดมินเอาหน้าที่ต่างๆ ของ  จป. ตำแหน่งต่างๆ มาลองให้อ่านดู
ลองทำความเข้าใจกับหน้าที่ความรับผิดชอบก่อนนะฮับ
 
 
หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. ,safety) ระดับต่างๆตามกฎกระทรวง  เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.  ๒๕๔๙ มีดังนี้
 
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่
(๑) กํากับ  ดูแล  ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓
(ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น
โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับเทคนิ คขั้นสูง   หรือระดับวิชาชีพ

(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน  เครื่องจักร  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
(๕) กํากับ  ดูแล  การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ
(๖) รายงานการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ  อันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง  และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค   ระดับเทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรํ าคาญ อันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับ เทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง โดยไม่ชักช้า
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภั ยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิค มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) ว ิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทํางาน
อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ
อันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๕) รวบรวมสถ ิติ  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย  การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง
(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กฎกระทรวง(ต่อภาค4)

                                   หมวด  ๖
                             การตรวจสุขภาพ

            และการรายงานผลการตรวจสุขภาพ

ข้อ  ๒๐  ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานในสภาวะการทํางานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๒๑  ให้นายจ้างเก็บรายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ  ๒๐  ตามแบบที่อธิบดีประกาศ กําหนดไว้อย่างน้อยห้าปีในสถานประกอบกิจการ  พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
ข้อ  ๒๒  ในกรณีที่ทราบความผิดปกติของร่างกายหรือความเจ็บป่วยของลูกจ้าง  เนื่องจากการทํางานในสภาวะการทํางานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน  แสงสว่าง  หรือเสียง  นายจ้างต้อง
จัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลในทันที  และทําการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติ
หรือเจ็บป่วย พร้อมทั้งส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ผิดปกติหรือเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการหรือที่ราชการยอมรับแสดงว่าไม่อาจทํางานในหน้าที่เดิมได้  ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควรทั้งนี้  ต้องคํานึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจางเป็นสําคัญ

                                                                                     ให้ไว้  ณ  วันที่  ๑๖  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๔๙
                                                                                                             สมศักดิ์  เทพสุทิน
                                                                                                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน



ที่มา.....กฎกระทรวง(ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ)

หมดแล้วจ้า......หมวดสุดท้ายแล้วค่าาา   โอเครนะค้าาา  เบาะๆๆๆ

กฎกระทรวง (ต่อภาค3)

                กฎกระทรวงต่อจ้า  แอดมินแอคทีฟฝุดๆ  ตอนนี้ว่างเลยอยากลงให้ก่อน สู้ๆๆๆๆๆ  (ก่อนจะต้องทำงานและทำการบ้านค่ะ   มาดูกันต่อเล้ยยยยยยยยย


                                 หมวด  ๔
           อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


ข้อ  ๑๓  อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องมีมาตรฐาน  ดังต่อไปนี้
          (๑)  ชุดแต่งกาย  รองเท้า  และถุงมือ  สําหรับป้องกันความร้อน ต้องทําด้วยวัสดุที่มีน้ําหนักเบา
สามารถกันความร้อนจากแหล่งกําเนิดความร้อนเพื่อมิให้อุณหภูมิในร่างกายเกิน  ๓๘  องศาเซลเซียส
          (๒) หมวกนิรภัย(Safety Hat)  ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกนิรภัย
ที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างจะต้องมีอุปกรณ์ที่ทําให้มีแสงสว่างส่องไปข้างหน้าที่มีความเข้มในระยะสามเมตรไม่น้อยกว่ายี่สิบลักซ์ติดอยูที่หมวกด้วย
          (๓)  แว่นตาลดแสง(Safety Glasses)  ต้องทําด้วยวัสดุซึ่งสามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่
ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา  กรอบแว่นตาต้องมีน้ําหนักเบาและมีกระบังแสงซึ่งมีลักษณะอ่อน
          (๔) กระบังหน้าลดแสง(Face Shield)   ต้องทําด้วยวัสดุสีที่สามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา  กรอบกระบังหน้าต้องมีน้ําหนักเบาและไม่ติดไฟง่าย
          (๕)  ปลั๊กลดเสียง(Ear Plugs) ต้องทําด้วยพลาสติก  ยาง หรือวัสดุอื่นที่อ่อนนุ่มและไม่ระคายเคือง
ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง  และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าเดซิเบลเอ
          (๖)  ครอบหูลดเสียง(Ear Muffs)  ต้องทําด้วยพลาสติก  ยาง  หรือวัสดุอื่นที่อ่อนนุ่มและไม่ระคายเคือง  ใช้ครอบหูทั้งสองข้าง  และสามารถลดระดับเสียงลงได้ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเดซิเบลเอ
ข้อ  ๑๔  นายจ้างต้องจัดให้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับวิธีการเลือกและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  โดยต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้และการบํารุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  รวมทั้งระเบียบในการใช้ต้องจัดทําขึ้นอย่างมีระบบและสามารถ  ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทําการ



                                   หมวด  ๕
         การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน



ข้อ  ๑๕  นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน  แสงสว่าง  หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการหลักเกณฑ์และวิธีดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๑๖  นายจ้างต้องจัดทํารายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานตามข้อ  ๑๕
โดยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือให้ผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี
สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่าตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นผู้รับรองรายงาน  และให้นายจ้างเก็บรายงานดังกล่าวไว้  ณ สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทําการ
พร้อมทั้งส่งรายงานคู่ฉบับต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทําการ
ตรวจวัด
ข้อ  ๑๗  ผู้ใดประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน  ให้ยื่นคําขอพร้อมแนบสําเนาเอกสารหลักฐานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายการยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง  ในเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่น  ณ  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดสําหรับจังหวัดอื่นให้ยื่น  ณ  สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด   คําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๑๘  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําขอที่ได้ยื่นตามข้อ ๑๗ แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้อง
และเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและ
วิเคราะห์สภาวะการทํางานในกรณีที่ผู้ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามข้อ  ๑๖  แล้ว  กระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนบุคคลนั้นออกจากทะเบียน
ขอ  ๑๙  การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตามข้อ  ๑๗  ให้กําหนดอัตราคาธรรมเนียม  ดังนี้



(๑)  ค่าคําขอ                                                  ฉบับละ  ๒๐  บาท
(๒)  ค่าขึ้นทะเบียน                                         ปีละ  ๓,๐๐๐  บาท
(๓)  ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน             ฉบับละ  ๑๐  บาท





ที่มา.......กฎกระทรวง(ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ)

















กฤกระทรวง(ต่อ)

กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน  มาแล้วจ้ามาแล้ว  มาต่อกันเลย  กับหมวดที่ 2 หมวดที่ 3 ค่ะ


                                  หมวด  ๒
                                  แสงสว่าง

ข้อ  ๕  นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่าง  ดังต่อไปนี้
          (๑)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่ ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่ทั่วไป
ภายในสถานประกอบกิจการ  เช่น  ทางเดิน  ห้องน้ํา  ห้องพัก
          (๒)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๒  ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทํางาน
          (๓)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๓  ท้ายกฎกระทรวงนี้  สําหรับบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน
          (๔)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานเทียบเคียงที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๔  ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู้กับที่ในการทํางาน  ในกรณี
ที่ความเข้มของแสงสว่าง  ณ  ที่ที่ให้ลูกจ้างทํางานมิได้กําหนดมาตรฐานไว้ในตารางที่  ๓
          (๕)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๕  ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณรอบ  ๆสถานที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด
ข้อ  ๖  นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก  แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ  เพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มี
แสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทํางาน  ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด  ๔  ตลอดเวลาที่ทํางาน
ข้อ  ๗  ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทํางานในสถานที่มืด  ทึบ  คับแคบ  เช่น  ในถ้ํา  อุโมงค์หรือในที่ที่มีลักษณะ  เช่น ว่านั้น นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมหมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง  หรือมีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างอื่นที่เหมาะแก่สภาพและลักษณะของงานตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในหมวด  ๔ตลอดเวลาที่ทํางาน




                                            หมวด  ๓
                                    เสียง


ข้อ  ๘  นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน(Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๖  ท้ายกฎกระทรวงนี้หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียง  และการคํานวณการได้รับเสียง  ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๙  ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก(Impact or Impulse Noise)  เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก
เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๖  ท้ายกฎกระทรวงนี้  นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทํางานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียง
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก  ให็เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๑๐  ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทํางานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กําหนดใน  ข้อ  ๘  หรือ  ข้อ  ๙  ให้นายจ้างดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกําเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดในกรณียังดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ใน  ข้อ  ๘  หรือ  ข้อ  ๙

ข้อ  ๑๑  ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดใน   ข้อ  ๘  หรือ ข้อ  ๙  นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
ข้อ  ๑๒  ในกรณีที่สภาวะการทํางาน  ในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียง   ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน   แปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป  ให้นายจ้างจัดทําโครงการ
อนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด


ที่มา......กฎกระทรวง(ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ)





วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง

                                                            กฎกระทรวง
               กำหนดมาตรฐานในการบริหารงานและการจัดการด้าน
               ความปลอดภัย    อาชีวอนามัย    และสภาพแวดล้อม
             ในการทำงานเกี่ยวกับ  ความร้อน  แสงสว่าง  และเสียง
                                                 พ.ศ. 2549

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6  และมาตรา  103  แห่วพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการกำจัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งมาตรา 29  ประกอบกับมาตรา 31  มาตรา 35  มาตรา  48  และมาตรา 50  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจ  ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ออกกฎกระทรวงไว้  ดังต่อไปนี้

ข้อ  1  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ  2  ในกฎกระทรวงนี้
          "อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ" (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT)  ความหมายว่า
   1)  อุณหภูมิที่วัดเป็นองศสเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดดหรือในอาคารมีระดับความร้อนเท่ากับ 0.7  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติบวก 0.3  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์  หรือ
   2)  อุณหภูมิที่วัดเป็นองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่มีแสงแดด  มีระดับความร้อนเท่ากับ  0.7  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติ บวก  0.2  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์  และบวก 0.1  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง
          "ระดับความร้อน"  หมายความว่า  อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานตรวจวัดโดยค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาสองชั่วโมง  ที่มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบสูงสุดของการทำงานปกติ
          "สภาวะการทำงาน"  หมายความว่า  สภาวะแวดล้อมซึ่งปรากฎอยู่ในบริเวณที่ทำงาน  ของลูกจ้าง  ซึ่งรวมถึงสภาพต่างๆในบริเวณที่ทำงาน  เครื่องจักร  อาคาร  สถานที่  การระบายอากาศ  ความร้อน  แสงสว่าง  เสียง  ตลอดจนสภาพและลักศณะการทำงาน  ของลูกจ้างด้วย
          "งานเบา"  หมายความว่า  ลักษณะที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน  200  กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานเขียนหนังสือ  งานพิมพ์ดีด  งานบันทึกข้อมูล  งานเย็บจักร  งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์  งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก  งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า  การยืนคุมงาน  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
          "งานปานกลาง"  หมายความว่า  ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กำลังงานที่เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่างกายเกิด 200  กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  ถึง  350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานยก  ลาก  ดัน  หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง  งานตอกตะปู  งานตะไบ  งานขับรถบรรทุก  งานขับรถแทรกเตอร์  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
          "งานหนัก"  หมายความว่า  ลักษณะงานที่ใช้แรงมาก  หรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่ายกาย เกิน 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานที่ใช้พลั่วหรือเสียมขุดตัก  งานเลื่อยไม้  งานเจาะไม้เนื้อแข็ง  งานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่  งานยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว