วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ของ จป.

วันนี้แอดมินเอาหน้าที่ต่างๆ ของ  จป. ตำแหน่งต่างๆ มาลองให้อ่านดู
ลองทำความเข้าใจกับหน้าที่ความรับผิดชอบก่อนนะฮับ
 
 
หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. ,safety) ระดับต่างๆตามกฎกระทรวง  เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.  ๒๕๔๙ มีดังนี้
 
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่
(๑) กํากับ  ดูแล  ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓
(ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น
โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับเทคนิ คขั้นสูง   หรือระดับวิชาชีพ

(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน  เครื่องจักร  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
(๕) กํากับ  ดูแล  การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ
(๖) รายงานการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ  อันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง  และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค   ระดับเทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรํ าคาญ อันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับ เทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง โดยไม่ชักช้า
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภั ยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิค มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) ว ิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทํางาน
อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ
อันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๕) รวบรวมสถ ิติ  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย  การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง
(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทํางาน
อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) วิเคราะห์แผนงานโครงการ  รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง  ๆ  และเสนอแนะ
มาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง

(๔) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ
หรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน

(๕) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
(๖) แนะนํา ฝากสอน อบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความ
ไมปลอดภัยในการทํางาน

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุ
เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๘) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพ มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันหรือขั ้นตอนการทํางานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ  รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง  ๆ  และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง
(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน
(๖) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)
(๗) แนะนํา  ฝึกสอน  อบรมลูกจ้างเพ ื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน
(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน  หรือดําเนินการร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทํางานภายในสถานประกอบกิจการ

(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสม กับสถานประกอบกิจการ  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ  และวิเคราะห์การประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๑๑) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง
(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ บริหาร มีหน้าที่
(๑) กํากับ  ดูแล  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยูในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร

(๒) เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ต่อนายจ้าง

(๓) ส่งเสริม  สนับสนุน  และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับ สถานประกอบกิจการ
(๔) กํากับ  ดูแล  และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าท ี่ความปลอดภัยในการทํางาน  คณะกรรมการ  หรือ หน่วยงานความปลอดภัย
ก็เป็นข้อกำหนดของกฏหมายนะครับ ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับไหน ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบบทบาทหน้าที่ของเรา และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของกฏหมายที่ออกมา



ที่มา....http://www.safetylamphun.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539203437&Ntype=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น