1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ (Safety professional)
จะต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ วิศวกรรม ฟิสิกส์ เคมี สถิติ คณิตศาสตร์ และหลักการวัดและการวิเคราะห์ ซึ่งรวมถึงการประเมินทางด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน หน้าที่โดยทั่วไปของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมีดังนี้
- ตรวจสอบ สืบค้น หาสภาวะที่เป็นอันตราย ฝึกประเมินความรุนแรงของอุบัติเหตุและการสูญเสีย
- พัฒนาวิธีการควบคุมอันตราย โดยกำหนดวิธีการควบคุมและโปรแกรมการควบคุม
- อันตรายในกระบวนการทำงานทั้งหมด
- แจ้งข้อมูลการควบคุมอันตรายให้กับผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ผู้บริหาร ผู้วางแผน และกระตุ้นให้มีการพิจารณาเรื่องความปลอดภัยร่วมไปกับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
- ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมือควบคุมอันตราย พัฒนาและปรับปรุงระบบควบคุมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
2. พยาบาลอาชีวอนามัย (Occupational Health nurse)
เป็นบุคคลสำคัญในการให้บริการทางด้านสุขภาพอนามัยของคนงาน พยาบาลอาชีวอนามัยจะมีหน้าที่ในการส่งเสริม ป้องกัน และทำให้คนงานมีสุขภาพดีโดยได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย พยาบาลอาชีวอนามัยจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสถานะทางสุขภาพของลูกจ้างกระบวนการทำงานและความสามารถของคนงานในการทำงาน
3. แพทย์อาชีวอนามัย (Occupational physician)
แพทย์ที่ผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์ และความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคจากการทำงานและอันตรายของสารเคมี ฟิสิกส์ ชีวภาพ และเออร์โกโนมิคส์ ที่มีต่อคนงาน อาการ และอาการแสดงของการได้รับสารแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถรักษาโรคที่เกิดขึ้นได้ จุดมุ่งหมายของแพทย์อาชีวอนามัยก็เพื่อป้องกันโรคจากการทำงาน เมื่อเกิดโรคจากการทำงานขึ้นสามารถรักษาโรคจากการทำงานให้หายได้และช่วยให้คนงานมีสถานที่ทำงานที่ดีและปลอดภัย มีการจัดทำโครงการเฝ้าระวังทางการแพทย์โดยจัดให้มีการทดสอบที่จำเป็นตามลักษณะงานเพื่อดูแลสุขภาพของคนงาน และสามารถตรวจพบความผิดบกติของคนงานได้ก่อนที่จะเกิดโรคจากการทำงาน
4. ลูกจ้าง (Employee) เป็นส่วนสำคัญในโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ลูกจ้างเป็นแหล่งข้อมูลของขั้นตอนการทำงาน วิธีการทำงานและอันตรายที่เกิดจากกระบวนการทำงานต่างๆในอุตสาหกรรมคณะกรรมการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นคณะกรรมการที่ควรจะจัดตั้งขึ้นในโรงงานที่มีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เป็นสถานที่ที่มีการทำงานร่วมกันของผู้บริหารและพนักงานโดยมีทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายคนงาน มีการร่วมมือกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แนะนำนโยบายทางด้านบริหารทำการสำรวจสถานที่ทำงานเป็นระยะ ประเมินและส่งเสริมกิจกรรมทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การประชุมกรรมการจะทำให้มีการจัดทำโครงการทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย และการเสนอนโยบายทางด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม เป็นต้น
สรุป
คณะทำงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วย นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ (Safety professional) พยาบาลอาชีวอนามัย(Occupational Health nurse) แพทย์อาชีวอนามัย (Occupational physician) ลูกจ้าง ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารตามสายบังคับบัญชาและผู้ เกี่ยวข้องอื่นๆ ขึ้นกับขนาดและลักษณะของหน่วยงานผู้ทำงานทุกคนต้องทำงานร่วมกัน เพื่อที่จะให้ข้อมูลและร่วมกันทำกิจกรรมที่สนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น