วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ (ตอนที่2)



พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ.  ๒๕๕๔ 


มาตรา  ๑๗  ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ
ความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่
ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ
มาตรา  ๑๘  ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง  ให้นายจ้างทุกราย
ของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น  มีหน้าที่ร่วมกันดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทํางานในสถานประกอบ
กิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง  ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย
มาตรา  ๑๙  ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด
ที่นํามาใช้ในสถานประกอบกิจการ  ให้นายจ้างมีอํานาจดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น
ตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร  สถานที่  เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดซึ่งให้เช่า หรือผู้ให้เช่าในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใด ๆ
ตลอดจนการบอกเลิกสัญญาเช่า
มาตรา  ๒๐  ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒
มาตรา  ๒๑  ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนด
ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
โดยคํานึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย  และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน  หัวหน้างาน  หรือผู้บริหาร  และให้เจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริ หาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย
ต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย  ต้องดําเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขต
ที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ  กรณีไม่อาจดําเนินการได้  ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้าง
ดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า
มาตรา  ๒๒  ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์
ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน
ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว  ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทํางานนั้นจนกว่า
ลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว
มาตรา  ๒๓  ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
มีหน้าที่ดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานของลูกจ้าง
เช่นเดียวกับนายจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง  และมีผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป  ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป
ตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นที่มีลูกจ้างทํางานในสถานประกอบกิจการเดียวกัน  มีหน้าที่ร่วมกันในการ
จัดสถานที่ทํางานให้มีสภาพการทํางานที่ปลอดภัย  และมีสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ถูกสุขลักษณะ
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างทุกคน
หมวด ๓
คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๒๔  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า“คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” ประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ  อธิบดี
กรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  และอธิบดีกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน  เป็นกรรมการ  กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง  ฝ่ายละแปดคน
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการ
การได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด  โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วม
ของทั้งหญิงและชาย
ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิง
และชาย
มาตรา  ๒๕  คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย  แผนงาน  หรือมาตรการความปลอดภัย
อาชีวอนามั ย และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบ เพื่อปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)  ให้ความเห็นแก่หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๔)  วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๓๓ วรรคสาม และมาตรา ๔๐ วรรคสอง
(๕)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่
ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา  ๒๖  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ  ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการ
แทนตําแหน่งที่ว่าง  และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่
ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระ  แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่
ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที ่ได้รับแต่งตั้งจะเข้ารับหน้าที่
มาตรา  ๒๗  นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา  ๒๖  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
พ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(๑)  ตาย
(๒)  ลาออก
(๓)  รัฐมนตรีให้ออก เมื่อขาดประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔)  เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)  เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
(๖)  เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗)  ต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๘)  ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก  เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้
กระทําโดยประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา  ๒๘  การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน
กรรมการทั้งหมด โดยมี กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน  จึงจะเป็น
องค์ประชุม
ในการประชุมเพื่อพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คราวใด  ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กําหนดไว้
ในวรรคหนึ่ง ให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก  การประชุมครั้ง
หลังแม้ไม่มีกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างมาร่วมประชุม  ถ้ามีกรรมการมาประชุม
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด  ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมสําหรับการประชุมคราวนั้น
มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ถ้าคะแนนเสียง
เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา  ๒๙  คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
ให้คณะกรรมการกําหนดองค์ประชุมและวิธีดําเนินงานของคณะอนุกรรมการได้ตามความ
เหมาะสม
มาตรา  ๓๐  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม
และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา  ๓๑  ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กระทรวงแรงงานรับผิดชอบงานธุรการ
ของคณะกรรมการ และมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  สรรหา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานเพื่อการจัดทํานโยบาย  แผนงาน  โครงการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๒)  จัดทําแนวทางการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓)  จัดทําแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ประจําปีเสนอต่อคณะกรรมการ
(๔)  ประสานแผนและการดําเนินการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตลอดจน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕)  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามมติของคณะกรรมการ
(๖)  รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการ
(๗)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุ กรรมการมอบหมาย
หมวด ๔
การควบคุม กํากับ ดูแล
มาตรา  ๓๒  เพื่อประโยชน์ในการควบคุม  กํากับ  ดูแลการดําเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  จัดให้มีการประเมินอันตราย
(๒)  ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทํางานที่มีผลต่อลูกจ้าง
(๓)  จัดทําแผนการดําเนินงานด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางานและจัดทําแผนการควบคุมดูแลลูกจ้ างและสถานประกอบกิจการ
(๔)  ส่งผลการประเมินอันตราย  การศึกษาผลกระทบ  แผนการดําเนินงานและแผนการ
ควบคุมตาม(๑) (๒)  และ(๓)  ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ประเภทกิจการ  ขนาดของ
กิจการที่ต้องดําเนินการ  และระยะเวลาที่ต้องดําเนินการ  ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคําแนะนําและได้รับการรับรองผล
จากผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๓๓  ผู้ใดจะทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทํางานจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีตามพระราชบัญญัติ
การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ชํานาญการ  การควบคุมการปฏิบัติงาน
ของผู้ได้รับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักใช้  และการเพิกถอน
ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับการอนุญาตเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยอนุโลม
มาตรา  ๓๔  ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง  หรือลูกจ้างประสบ
อันตรายจากการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑)  กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต  ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ
โดยโทรศัพท์  โทรสาร  หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร  และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ
เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต
(๒)  กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต  หรือมีบุคคล
ในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย  อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้  การระเบิด
สารเคมีรั่วไหล หรืออุบั ติภัยร้ายแรงอื่น  ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ
โดยโทรศัพท์  โทรสาร  หรือวิธีอื่นใด  และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น
ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ําอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ
(๓)  กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้าง
แจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสํานักงานประกันสังคมตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว  ให้นายจ้าง
ส่งสําเนาหนังสือแจ้งนั้นต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในเจ็ดวันด้วย
การแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและเมื่อพนักงาน
ตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ ดําเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว
หมวด ๕
พนักงานตรวจความปลอดภัย
มาตรา  ๓๕  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานตรวจความปลอดภัย
มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑)  เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้างในเวลาทําการหรือเมื่อเกิด
อุบัติภัย
(๒)  ตรวจสอบหรือบันทึกภาพและเสียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เกี่ยวกับ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดหรือตรวจสอบเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในสถานประกอบกิจการ
(๔)  เก็บตัวอย่างของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มาเพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัย
(๕)  สอบถามข้อเท็จจริง  หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ  ภายในขอบเขตอํานาจและเรียกบุคคล
ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง  รวมทั้งตรวจสอบหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะมาตรการ
ป้องกันอันตรายต่ออธิบดีโดยเร็ว
มาตรา  ๓๖  ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยพบว่า  นายจ้าง  ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้  หรือพบว่า
สภาพแวดล้อมในการทํางาน  อาคาร  สถานที่  เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ลูกจ้างใช้จะก่อให้เกิดความ
ไม่ปลอดภัยแก่ลูกจ้าง ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการกระทําที่ฝ่าฝืน  แก้ไข
ปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาสามสิบวัน ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจดําเนินการ
ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้  พนักงานตรวจความปลอดภัยอาจขยายระยะเวลาออกไปได้
ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว
ในกรณีจําเป็นเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย  ให้พนักงานตรวจ
ความปลอดภัยมีอํานาจสั่งให้หยุดการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ หรือผูกมัดประทับตราสิ่งที่อาจจะ
ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อลูกจ้างดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว  ในระหว่าง
การปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยได้ เมื่อนายจ้างได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามคําสั่ง
ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามวรรคหนึ่งแล้ว  ให้นายจ้างแจ้งอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
เพื่อพิจารณาเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้
มาตรา  ๓๗  ในกรณีที่ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคําสั่ งของพนักงานตรวจความปลอดภัย
ตามมาตรา  ๓๖  ถ้ามีเหตุอันอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สมควรเข้าไปดําเนินการแทน  ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจสั่งให้พนักงานตรวจ
ความปลอดภัยหรือมอบหมายให้บุคคลใดเข้าจัดการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งนั้นได้  ในกรณีเช่นนี้
นายจ้างต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการเข้าจัดการแก้ไขนั้นตามจํานวนที่จ่ายจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น