กฎกระทรวงต่อจ้า แอดมินแอคทีฟฝุดๆ ตอนนี้ว่างเลยอยากลงให้ก่อน สู้ๆๆๆๆๆ (ก่อนจะต้องทำงานและทำการบ้านค่ะ มาดูกันต่อเล้ยยยยยยยยย
หมวด ๔
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ ๑๓ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องมีมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) ชุดแต่งกาย รองเท้า และถุงมือ สําหรับป้องกันความร้อน ต้องทําด้วยวัสดุที่มีน้ําหนักเบา
สามารถกันความร้อนจากแหล่งกําเนิดความร้อนเพื่อมิให้อุณหภูมิในร่างกายเกิน ๓๘ องศาเซลเซียส
(๒) หมวกนิรภัย(Safety Hat) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกนิรภัย
ที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างจะต้องมีอุปกรณ์ที่ทําให้มีแสงสว่างส่องไปข้างหน้าที่มีความเข้มในระยะสามเมตรไม่น้อยกว่ายี่สิบลักซ์ติดอยูที่หมวกด้วย
(๓) แว่นตาลดแสง(Safety Glasses) ต้องทําด้วยวัสดุซึ่งสามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่
ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา กรอบแว่นตาต้องมีน้ําหนักเบาและมีกระบังแสงซึ่งมีลักษณะอ่อน
(๔) กระบังหน้าลดแสง(Face Shield) ต้องทําด้วยวัสดุสีที่สามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา กรอบกระบังหน้าต้องมีน้ําหนักเบาและไม่ติดไฟง่าย
(๕) ปลั๊กลดเสียง(Ear Plugs) ต้องทําด้วยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอื่นที่อ่อนนุ่มและไม่ระคายเคือง
ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าเดซิเบลเอ
(๖) ครอบหูลดเสียง(Ear Muffs) ต้องทําด้วยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอื่นที่อ่อนนุ่มและไม่ระคายเคือง ใช้ครอบหูทั้งสองข้าง และสามารถลดระดับเสียงลงได้ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเดซิเบลเอ
ข้อ ๑๔ นายจ้างต้องจัดให้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับวิธีการเลือกและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้และการบํารุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล รวมทั้งระเบียบในการใช้ต้องจัดทําขึ้นอย่างมีระบบและสามารถ ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทําการ
หมวด ๕
การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน
ข้อ ๑๕ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการหลักเกณฑ์และวิธีดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๑๖ นายจ้างต้องจัดทํารายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานตามข้อ ๑๕
โดยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือให้ผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี
สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่าตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นผู้รับรองรายงาน และให้นายจ้างเก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทําการ
พร้อมทั้งส่งรายงานคู่ฉบับต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทําการ
ตรวจวัด
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน ให้ยื่นคําขอพร้อมแนบสําเนาเอกสารหลักฐานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายการยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดสําหรับจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด คําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๑๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําขอที่ได้ยื่นตามข้อ ๑๗ แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้อง
และเสนอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและ
วิเคราะห์สภาวะการทํางานในกรณีที่ผู้ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานตามข้อ ๑๖ แล้ว กระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนบุคคลนั้นออกจากทะเบียน
ขอ ๑๙ การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตามข้อ ๑๗ ให้กําหนดอัตราคาธรรมเนียม ดังนี้
(๑) ค่าคําขอ ฉบับละ ๒๐ บาท
(๒) ค่าขึ้นทะเบียน ปีละ ๓,๐๐๐ บาท
(๓) ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน ฉบับละ ๑๐ บาท
ที่มา.......กฎกระทรวง(ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น