วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กฤกระทรวง(ต่อ)

กฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน  มาแล้วจ้ามาแล้ว  มาต่อกันเลย  กับหมวดที่ 2 หมวดที่ 3 ค่ะ


                                  หมวด  ๒
                                  แสงสว่าง

ข้อ  ๕  นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่าง  ดังต่อไปนี้
          (๑)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่ ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่ทั่วไป
ภายในสถานประกอบกิจการ  เช่น  ทางเดิน  ห้องน้ํา  ห้องพัก
          (๒)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๒  ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทํางาน
          (๓)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๓  ท้ายกฎกระทรวงนี้  สําหรับบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน
          (๔)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานเทียบเคียงที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๔  ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู้กับที่ในการทํางาน  ในกรณี
ที่ความเข้มของแสงสว่าง  ณ  ที่ที่ให้ลูกจ้างทํางานมิได้กําหนดมาตรฐานไว้ในตารางที่  ๓
          (๕)  ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๕  ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณรอบ  ๆสถานที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด
ข้อ  ๖  นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก  แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ  เพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มี
แสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทํางาน  ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด  ๔  ตลอดเวลาที่ทํางาน
ข้อ  ๗  ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทํางานในสถานที่มืด  ทึบ  คับแคบ  เช่น  ในถ้ํา  อุโมงค์หรือในที่ที่มีลักษณะ  เช่น ว่านั้น นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมหมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง  หรือมีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างอื่นที่เหมาะแก่สภาพและลักษณะของงานตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในหมวด  ๔ตลอดเวลาที่ทํางาน




                                            หมวด  ๓
                                    เสียง


ข้อ  ๘  นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน(Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๖  ท้ายกฎกระทรวงนี้หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียง  และการคํานวณการได้รับเสียง  ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๙  ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก(Impact or Impulse Noise)  เกินหนึ่งร้อยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก
เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่  ๖  ท้ายกฎกระทรวงนี้  นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทํางานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียง
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก  ให็เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ  ๑๐  ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทํางานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กําหนดใน  ข้อ  ๘  หรือ  ข้อ  ๙  ให้นายจ้างดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกําเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดในกรณียังดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ใน  ข้อ  ๘  หรือ  ข้อ  ๙

ข้อ  ๑๑  ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดใน   ข้อ  ๘  หรือ ข้อ  ๙  นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
ข้อ  ๑๒  ในกรณีที่สภาวะการทํางาน  ในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียง   ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน   แปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป  ให้นายจ้างจัดทําโครงการ
อนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด


ที่มา......กฎกระทรวง(ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น