ตอบคำถามที่หลายๆคนน่าจะสนใจค่ะ จป.คืออะไร ย่อมาจากอะไร ตอนแรกแอดมินก็สงสัย จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ยามหรอ โอ้ววววไม่นะ ลองมาดูกันเลยค่ะ ว่าที่เราสงสัยจะใช่หรือไม่?????
จป. ย่อมาจากอะไร
| |
จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานครับ บางท่านอาจจะสับสน คิดว่าเป็น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับ จป. ( เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ) นั้น เป็นตำแหน่งงานในสถานประกอบการซึ่ง กฎหมายบังคับให้ต้องมี ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ล่าสุด ให้อ่านตามนี้เลยครับ
–> กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. ๒๕๔๙ จากกฎกระทรวงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มี จป.อยู่หลายระดับ ครับ แต่ที่ทำหน้าที่หลักๆเต็มเวลา ในด้านความปลอดภัย ก็คือ จป.วิชาชีพนั่นเอง ซึ่ง ถ้าดูจากกฎกระทรวงดังกล่าว
กล่าวถึง จป.วิชาชีพไว้ดังนี้ครับ ข้อ ๑๖ ให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไปและสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๒) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๗ ประจำสถานประกอบกิจการอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้านความปลอดภัยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แล้วแต่กรณี..
ที่มา......http://www.nsplusengineering.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1312197
จป.ยุคปัจจุบัน
ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มีผลทำให้ประกาศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับปี 2540 ถูกยกเลิก (ตามมาตรา 166 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) โดยมีการเน้นด้านการจัดองค์กรด้านความปลอดภัยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดในเรื่อง จป. คณะกรรมการความปลอดภัยฯ และหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ โดยเฉพาะจป.นั้น ได้มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ และมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1) จป.ระดับหัวหน้างาน หมายถึง ลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.หัวหน้างาน) 2) จป.ระดับบริหาร หมายถึง ลูกจ้างระดับบริหาร ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.บริหาร) 3) จป.ระดับเทคนิค หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 3.1 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า 3.2 เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิค) 3.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 4) จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 4.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า 4.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง ) 4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าและได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับพื้นฐานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง (หลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง ) 5) จป.ระดับวิชาชีพ หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 5.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า 5.2 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554 5.3 เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบ ในหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 42 ชั่วโมง ชั่วโมง (หลักสูตร จป.วิชาชีพ 42 ชั่วโมง) ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2554 |
วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557
จป.ย่อมาจากอะไรและใครสามารถเป็น จป.ได้บ้าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น