วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง

                                                            กฎกระทรวง
               กำหนดมาตรฐานในการบริหารงานและการจัดการด้าน
               ความปลอดภัย    อาชีวอนามัย    และสภาพแวดล้อม
             ในการทำงานเกี่ยวกับ  ความร้อน  แสงสว่าง  และเสียง
                                                 พ.ศ. 2549

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6  และมาตรา  103  แห่วพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการกำจัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งมาตรา 29  ประกอบกับมาตรา 31  มาตรา 35  มาตรา  48  และมาตรา 50  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจ  ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ออกกฎกระทรวงไว้  ดังต่อไปนี้

ข้อ  1  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ  2  ในกฎกระทรวงนี้
          "อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ" (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT)  ความหมายว่า
   1)  อุณหภูมิที่วัดเป็นองศสเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดดหรือในอาคารมีระดับความร้อนเท่ากับ 0.7  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติบวก 0.3  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์  หรือ
   2)  อุณหภูมิที่วัดเป็นองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่มีแสงแดด  มีระดับความร้อนเท่ากับ  0.7  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติ บวก  0.2  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์  และบวก 0.1  เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง
          "ระดับความร้อน"  หมายความว่า  อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานตรวจวัดโดยค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาสองชั่วโมง  ที่มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบสูงสุดของการทำงานปกติ
          "สภาวะการทำงาน"  หมายความว่า  สภาวะแวดล้อมซึ่งปรากฎอยู่ในบริเวณที่ทำงาน  ของลูกจ้าง  ซึ่งรวมถึงสภาพต่างๆในบริเวณที่ทำงาน  เครื่องจักร  อาคาร  สถานที่  การระบายอากาศ  ความร้อน  แสงสว่าง  เสียง  ตลอดจนสภาพและลักศณะการทำงาน  ของลูกจ้างด้วย
          "งานเบา"  หมายความว่า  ลักษณะที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน  200  กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานเขียนหนังสือ  งานพิมพ์ดีด  งานบันทึกข้อมูล  งานเย็บจักร  งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์  งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก  งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า  การยืนคุมงาน  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
          "งานปานกลาง"  หมายความว่า  ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กำลังงานที่เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่างกายเกิด 200  กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  ถึง  350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานยก  ลาก  ดัน  หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง  งานตอกตะปู  งานตะไบ  งานขับรถบรรทุก  งานขับรถแทรกเตอร์  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
          "งานหนัก"  หมายความว่า  ลักษณะงานที่ใช้แรงมาก  หรือใช้กำลังงานที่ทำให้เกิดการเผลาผลาญอาหารในร่ายกาย เกิน 350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง  เช่น  งานที่ใช้พลั่วหรือเสียมขุดตัก  งานเลื่อยไม้  งานเจาะไม้เนื้อแข็ง  งานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่  งานยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน  หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
 



                                      หมวด 1
                                     ความร้อน


ข้อ 3  ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประ  กอบกิจการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่มิให้เกินมาตรฐาน  ดังต่อไปนี้
   1)  งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานเบา  ต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ  34  องศาเซลเซียส
   2)  งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานปานกลางต้องมีมาตรฐานระดับความร้อน  ไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ  32  องศาเซลเซียส
   3)  งานที่ลูกจ้าทำในลักษณะงานหนักต้องมีมาตรฐานระดับความร้อน  ไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ  30  องศาเซลเซียส

ข้อ  4  ในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กำกนด  ในข้อ  3 ให้นายจ้างดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทำงานทางด้านวิศวกรรมให้ระดับความร้อนไม่เกินมาตรฐาน  หากได้ดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทำงานแล้ว  ยังวบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้  ให้นายจ้างปิดปะกาศเตือนให้ลูกจ้างทราบว่าบริเวณนั้น  อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง และนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหมวดที่  4  ตลอดเวลาที่ทำงาน


แอดมินลงให้เท่านี้ก่อนนะคะ  ไว้วันหลังจะมาต่อ แสงสว่าง เสียง และอื่นๆ อีกจ้าาา




ของคุณที่มา.... กองตรวจความปลอดภัย  กรมสัวสดิการและคุ้มครองแรงงานค่ะ









 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น