วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ ร.9 ให้ประกาศว่า (ตอนที่ 1)

พระราชบัญญัติ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พ.ศ.  ๒๕๕๔


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.     ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.  ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา  ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.  ๒๕๕๔”
มาตรา  ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา  ๓  พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑)  ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒)  กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้ราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่น  และกิจการอื่นตามที่กําหนด
ในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานในหน่วยงานของตนไม่ต่ํากว่ามาตรฐานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
“ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่า  การกระทํา
หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ
หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทํ างาน
“นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถาน
ประกอบกิจการ  ไม่ว่าการทํางานหรือการทําผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด
ในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม
“ลูกจ้าง” หมายความว่า  ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการในหน่วยงานขึ้นไป
“หัวหน้างาน” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่ควบคุม  ดูแล  บังคับบัญชาหรือสั่งให้ลูกจ้าง
ทํางานตามหน้าที่ของหน่วยงาน
“เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน”  หมายความว่า  ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติ
หน้าที่ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
“สถานประกอบกิจการ”  หมายความว่า  หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มีลูกจ้างทํางาน
อยู่ในหน่วยงาน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า  คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน
“กองทุน”  หมายความว่า  กองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางาน
“พนักงานตรวจความปลอดภัย” หมายความว่า  ผู้ซึ่ งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๕  ให้รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานตรวจความปลอดภัยกับออกกฎกระทรวง  ประกาศ  และระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  รวมทั้งออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตรา
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และยกเว้นค่าธรรมเนียม
การแต่งตั้งพนักงานตรวจความปลอดภัยต้องกําหนดคุณสมบัติ  ขอบเขต  อํานาจหน้าที่
และเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย
กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา  ๖  ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพ
การทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ  รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน
การปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบ
กิจการ
มาตรา  ๗  ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดให้นายจ้างต้องดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้ จ่ายเพื่อการนั้น
หมวด ๒
การบริหาร  การจัดการ และการดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๘  ให้นายจ้างบริหาร  จัดการ  และดําเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
การกําหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง  ให้นายจ้างจัดทําเอกสารหรือรายงานใด  โดยมีการ
ตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
มาตรา  ๙  บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง
ประเมินความเสี่ยง  รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คําปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา  ๘  จะต้อง
ขึ้นทะเบียนต่อสํานักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การออกใบแทนการขึ้นทะเบียน  การเพิกถอน
ทะเบียน  การกําหนดค่าบริการ  และวิธีการให้บริการตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ
และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา  ๑๐  ในกรณีที่สํานักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่รับ
ขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนทะเบียนตามมาตรา ๙ ผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือผู้ถูกเพิกถอนทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์
เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการไม่รับขึ้นทะเบียนหรือการเพิกถอนทะเบียน
คําวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด
มาตรา  ๑๑  นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง
ประเมินความเสี่ยง  รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คําปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ จะต้องได้รับ
ใบอนุญาตจากอธิบดี
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การขออนุญาต การอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต  การออกใบ
แทนใบอนุญาต การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต  การกําหนดค่าบริการ  และวิธีการให้บริการตาม
วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา  ๑๒  ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ออกใบแทนใบอนุญาต
หรือพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา  ๑๑  นิติบุคคลนั้นมีสิทธิ
อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของอธิบดีแจ้งการไม่ออก
ใบอนุญาต หรือการไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา  ๑๓  ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน  บุคลากร  หน่วยงาน
หรือคณะบุคคลเพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์  วิธีการ
และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ให้นําบทบัญญัติมาตรา  ๙  วรรคสอง  และมาตรา  ๑๐  มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน โดยอนุโลม
มาตรา  ๑๔  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการ
ทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย  ให้นายจ้างแจ้ง
ให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่
ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน
มาตรา  ๑๕  ในกรณีที่นายจ้างได้รับคําเตือน  คําสั่ง  หรือคําวินิจฉัยของอธิบดี  คําสั่งของ
พนักงานตรวจความปลอดภัย  หรือคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายจ้างแจ้งหรือปิดประกาศคําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยดังกล่าว ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบ
กิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้ง
มาตรา  ๑๖  ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร  หัวหน้างาน  และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน  เพื่อให้บริหารจัดการ  และดําเนินการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย
ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน  เปลี่ยนงาน  เปลี่ยนสถานที่ทํางาน  หรือเปลี่ยนแปลง
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์  ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  หรือสุขภาพอนามัย
ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางาน
การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่
อธิบดีประกาศกําหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น