อันนี้เป็นข่าวประชาสัมพันธ์จาก
ผศ.ศักรินทร์ โสนันทะ
หน.สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย
(086-798-4454) ถึง นักเรียน ม.6 / ปวช. / ปวส. และเทียบเท่า
แนะนำให้เรียนสาขาวิชาชีพขาดแคลน มีโอกาสหางานทำง่าย และเงินเดือนสูงเทียบเท่าวิศวกรสาขาต่างๆ คือจป.วิชาชีพ (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ : Safety Officer) ตำแหน่งนี้คนไม่ค่อยรู้จัก เว้นแต่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแล้วจึงรู้ว่ามี บางครั้งเรียกว่าวิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer) จป.วิชาชีพเป็นตำแหน่งที่มีกฎหมายบังคับนายจ้างที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป หรืออยู่ในเครือข่ายที่ทางกฎหมายได้กำหนดไว้ ว่าต้องมี วิศวกรอื่นๆไม่มีกฎหมายบังคับ มีก็ได้ไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละบริษัท
1. ใครออกกฎหมาย
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (ดูที่เว็บ oshthai.org , jotpor.com ) มีกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแห่งแรกที่ผลิต จป.วิชาชีพ รุ่นแรก พ.ศ.2512 แล้วมีกฎหมายออกมาบังคับในปีพ.ศ.2515 รองรับนักศึกษาจบพอดี
ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้
เรื่องที่เป็น Talk
of the town ในแวดวงอาชีวอนามัยฯ ของเรา
เห็นจะไม่พ้นเรื่องของกฎหมาย จป.ฉบับใหม่
หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2549 ซึ่งได้มีการลงนาม โดย ฯพณฯ สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2549 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย. 2549 ที่ผ่านมา
ซึ่งหลังจากประกาศใช้ ก็ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนคำถาม
และข้อสงสัยต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมายหลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า
กฎหมายฉบับใหม่นี้ออกมาเพื่อกีดกัน ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ ไว้ให้กับผู้ที่จบปริญญาตรีอาชีวอนามัยใช่หรือไม่
และจะมีผลทำให้ จป.วิชาชีพ ที่ผ่านการฝึกอบรม 180 ชม. หรือ 192 ชม. ตามกฎหมายเก่า ถึงกับต้องตกงานกันไปเลยหรือเปล่า แล้ว จป. พื้นฐานที่ถูกยกเลิกไปล่ะ จะให้ไปทำงานอะไร ไหนจะ จป.หัวหน้างาน กับ จป.บริหารที่มีอยู่ล่ะ
ต้องส่งไปอบรมกันใหม่หรืออย่างไร ส่วน จป. เทคนิค และ
จป. เทคนิคชั้นสูงล่ะ ต้องอบรมอะไรบ้าง ฯลฯ
และแล้ว หลังจากปล่อยให้พวกเราอยู่ในสภาพสุญญากาศ
คือไม่รู้เหนือรู้ใต้กันอยู่เกือบ 2 เดือน
ในที่สุดก็ได้มีประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ฉบับลงวันที่ 18ส.ค. 2549 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งเมื่ออ่านจบแบบครบถ้วนกระบวนความ
แถมพกด้วยอานิสงส์ที่ได้จากการขวนขวายไปฟังการอธิบาย ตีความกฎหมายจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งจากทางกองตรวจความปลอดภัยและนักวิชาการ
รวมถึงการซักถามข้อสงสัยต่าง
ๆ จากเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในหลายพื้นที่ ก็พอจะทำให้คลาย
ความสงสัย และความกังวลใจ ไปได้มากพอสมควร จึงถือโอกาสนี้ มาคุยให้ฟังกัน
ซึ่งก็คงจะพอช่วยให้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ในภาพรวม ส่วนรายละเอียดแบบเจาะลึก
คงต้องรบกวนให้ไปอ่านกฎหมายฉบับเต็มกันเอา
จะว่าไปแล้ว ที่มาของกฎหมาย จป. ฉบับใหม่นี้
ก็เพื่อยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับปฏิญญากรุงเทพ ฯ 2006 หรือ Bangkok Declaration 2006 ที่ได้มีการลงนามกันในการประชุม APOSHO ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 9-12 พ.ค. 2549 ซึ่งจัดขึ้นควบคู่ไปกับงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 ที่ผ่านมานั่นเอง
โดยกฎหมายฉบับนี้ได้รวบรวมเอาข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเข้ามาไว้ด้วยกัน
เพื่อให้นายจ้างสามารถดำเนินการบริหาร และจัดการความปลอดภัย ฯ ได้อย่างเหมาะสม
และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในความเห็นของนักวิชาการบางท่าน ก็กล่าวว่ากฎหมาย
จป. ฉบับ 2549 นี้ คือ
มอก. 18001ภาคบังคับนั่นเองและหลังจากกฎหมายฉบับดังกล่าวประกาศใช้
ก็มีผลให้ยกเลิกกฎหมายฉบับเก่า 2 ฉบับ คือ
1) ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง
ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง (31 มี.ค. 2540)
2) ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (27 มิ.ย. 2538)
- โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท (เงินเดือนเท่าวิศวกร)
- งานก่อสร้างทุกประเภท (บริษัทก่อสร้างกำลังขาดแคลน : เงินเดือนเท่าวิศวกร)
- โรงกลั่นน้ำมัน เจาะ ขุด บนบก ทะเล (เงินเดือนดีมาก)
- ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี (เงินเดือนดีมาก)
- เหมืองแร่ เหมืองถ่านหิน
- กิจการขนส่งทุกประเภท
- การไฟฟ้า การประปา
- โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถาบันการเงิน สถานบันเทิง
- และอื่นๆที่กระทรวงแรงงานจะประกาศเพิ่มเติมภายหลัง
ส่วนเนื้อหาสาระที่สำคัญของกฎหมาย
จป. ฉบับใหม่ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรม จป. ตามกฎหมายใหม่ มีดังนี้
1. ประเภทของกิจการที่บังคับใช้กฎหมาย เพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 14 ประเภทกิจการ ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง
ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสียหรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน
รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร
สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน
เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา
หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม*
7) ห้างสรรพสินค้า*
8) สถานพยาบาล*
9) สถาบันทางการเงิน*
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ*
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา*
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ*
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม 1) ถึง 12)*
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
หมายเหตุ ประเภทกิจการที่เพิ่มขึ้นคือข้อ 6)
- 13)
3. สอบเข้าได้ที่ไหนบ้าง
- จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต เลือกคณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ที่ ม.มหิดล ขอนแก่น บูรพา วลัยลักษณ์ ทักษิณ สุรนารี ธรรมศาสตร์ อุบลราชธานี นเรศวร แม่ฟ้าหลวง เป็นต้น ตอนขึ้นปีที่ 2 เลือกสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอีกที ผู้ได้ GPA สูงมีสิทธิ์เลือกก่อน จบแล้วได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
4. พลาดจากมหาวิทยาลัยหลักๆนั้นแล้วจะเข้าได้ที่ไหนอีกทีนี้ไม่จำเป็นต้องจบ ม.6 สายวิทย์-คณิต ขอให้จบ ม.6 / ปวช. / หรือเทียบเท่า
4.1) มหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่นบ้านสมเด็จ สวนสุนันทา จันทร์เกษม วไลยอลงกรณ์ ได้วุฒิ วท.บ.
4.2) มหาวิทยาลัยเอกชน มี 2 แห่งเท่านั้น คือ
- ม.หัวเฉียวฯ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้วุฒิ วท.บ.
- มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย ได้วุฒิวิศวกรรมศาสตร
บัณฑิต (วศ.บ.) ซึ่งเป็นแห่งเดียวที่ได้วุฒิ วศ.บ.
เพราะ จป.วิชาชีพ จะต้องทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง หรืออื่นๆนั้น จะทำงานร่วมกับวิศวกรสาขาต่างๆ ดังนั้นจะต้องมีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อมีองค์ความรู้ในการทำงานได้เท่าทัน
สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย มี 2 หลักสูตร
1) หลักสูตร 4 ปี รับ ม.6 / ปวช. / หรือเทียบเท่า (139 หน่วยกิต)
2) หลักสูตร 3 ปี รับ ปวส. สาขาช่าง, คอมฯธุรกิจ สารสนเทศ และด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ (109 หน่วยกิต)
3) สนใจติดต่อ 02-807-4500 ต่อ 385, 190 และ 086-798-4454 www.sau.ac.th/safety
E-mail : sme2548@gmail.com
4) ม.เอเชียฯ บริหารโดยมูลนิธิฯ จึงไม่หวังผลกำไรมาก ค่าหน่วยกิตถูกที่สุดในประเทศ (เปรียบเทียบม.เอกชนด้วยกัน) คณะวิศวะ ทฤษฎี 1200 บาท ปฏิบัติ 1500 บาท (คณะบริหารฯ คณะนิติฯ คณะศิลปะศาสตร์ฯ หน่วยกิตละ 600 บาท)
นี้เป็นแค่ส่วนน้อยสำหรับข้อมูลนะคะ ดูเพิ่มเติมได้ด้านล่างเลยค่ะ
ขอขอบคุณมากที่ให้โอกาสประชาสัมพันธ์ต่อนะคะ
ที่มา...http://data.bn.ac.th/forum/index.php?topic=795.0;wap2
...http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=19287§ion=9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น