วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

2.  ขอบเขตของความปลอดภัยในการทำงาน
       คณะกรรมการร่วมระหว่างอาค์การแรงงานระหว่างประเทศ  และองค์การอนามัยโลก  ได้กำหนด  วัตถุประสงค์ของงานความปลอดภัยในการทำงานไว้ดังนี้  คือ
-  เพื่อคุ้มครองผ้ใช้แรงงานมิให้ทำงานที่มีการเสี่ยงอันตรายที่มีต่อสุขภาพและอนามัย
-  จัดให้ผู้ใช้แรงงานได้ทำงาน  ในสภาพสิ่งแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมกับสภาวะของร่ายกายและจิตใจ
-  ส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนความเป็นอยู่ของสังคมของผู้ใช้แรงงานในทุกกลุ่มอาชีพที่สมบูรณ์ที่สุด
-  ป้องกันมิให้ผู้ใช้แรงงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือเกิดความผิดปกติ  อันเนื่องมาจากสภาพการทำงาน
      
       จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว  จะเห็นว่าความปลอดภัยในการทำงานมีขอบเขตที่กว้างขวางมาก  ดังนั้น  ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  คือ  ให้ผู้ใช้แรงงานมีสุขภาพอนามัยดี  และมีความปลอดภัยนั้น  จำเป็นต้องอาศัยความรู้และวิชาการแขนงต่างๆมากมาย  สำหรับแขนงวิชาการที่สำคัญ  ซึ่งเกี่ยวกับงานความปลอดภัยมีดังนี้
ความปลอดภัยในอุตสาหกรรม (industrial  safety  or occupational  safety) เป็นแขนงวิชาการที่มุ่งเน้นในการดำเนินมาตรการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ  และส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้น
-  สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial  hygiene of  occupational  hygiene) เป็นแขนงวิชาการที่เกี่ยวข้องในการค้นหาปัญหา  การประเมินหรือการตรวจสอบปัญหา  และการควบคุม  หรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม  เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคจากการทำงาน
การยศาสตร์หรือเออร์กอนอมิคส์ (ergonomics) เป็นแขนงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานหรือจัดสถานที่ทำงานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ใช้แรงงาน
เวชศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial  medicine  or  occupational  medicine) เป็นแขนงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังทางการแพทย์  การวินิจฉัยและการรักษาโรคอาการบาดเจ็บ  ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพความพิการจากการทำงาน

หรือจะเข้าใจแบบชาวบ้านๆที่ความรู้ธรรมดาแบบแอดมินก็นี่เลยค่ะ

2. ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
        การดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะมีขอบเขตที่เกี่ยวข้องเฉพาะปัญหาสุขภาพอนามัย (Health problems) ของคนที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1. คนในขณะทำงาน (Workers)
       ในผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพต่างๆจะได้รับการดูและทางสุขภาพอนามัย การค้นหาโรคและอันตรายที่เกิดขึ้นที่เป็นผลมากจากการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันโรค อันตรายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการทำงาน
2. สภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน (Working Environment)
       เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมของงานแต่ละประเภท ว่ามีสิ่งใดที่ทำให้เกิดอันตราบได้บ้าง และมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
การศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้หลักการทางอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational hygiene) มี 3 หลักการใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. การสืบค้น (Identify)
โดยศึกษาสภาพแท้จริงของงาน เพื่อค้นหาปัญหาว่าในงานนั้นๆมีสิ่งใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน เช่น อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ อันตรายจากสารเคมี อันตรายทางด้านชีวภาพ และปัญหาทางด้านการยศาสตร์
2. การประเมินอันตราย (Evaluation)
เมื่อทราบปัญหาแล้ว จะต้องมีการประเมินระดับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นว่ามีผลต่อสุขภาพคนงานหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามรถกระทำได้โดยการตรวจสอบ การตรวจวัด หรือการวิเคราะห์ปัญหา โดยนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีการกำหนดไว้
3. การควบคุม (Control)
เป็นงานที่ต้อเนื่องจากทั้งสองขั้นตอนข้างต้น ซึ่งเมื่อทราบว่างานนั้นมีสิ่งใดที่เป็นอันตรายหรือมีผลต่อสุขภาพ และทราบความรุนแรงของอันตรายแล้วจะนำมาสู่การดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตราย โดยการใช้มาตรการ วิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายดังกล่าว
 
ที่มา...คู่มืออบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
       ...http://www.sut.ac.th/im

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น