วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัตความปลอดภัย อาชีวอนามัและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๕๔ ตอนที่ 3 จบละค่ะ

พระราชบัญญัตความปลอดภัย อาชีวอนามัและสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ.  ๒๕๕๔



ก่อนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  จะต้องมีคําเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในระยะเวลาที่กําหนด  คําเตือนดังกล่าว
จะกําหนดไปพร้อมกับคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยก็ได้
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อเป็นเงินทดรองจ่ายในการดําเนินการได้  และเมื่อได้รับเงินจากนายจ้างแล้วให้ชดใช้เงินช่วยเหลือที่ได้รับมาคืนแก่กองทุน
มาตรา  ๓๘  ให้อธิบดีมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรั พย์สิ นของนายจ้างซึ่งไม่จ่ายค่าใช้จ่ายในการดําเนิ นการตามมาตรา ๓๗ ทั้ งนี้ เพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อเป็น
ค่าใช้จ่ายสําหรับการเข้าจัดการแก้ไขตามจํานวนที่จ่ายจริง
การมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะกระทําได้ต่อเมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างนําเงินค่าใช้จ่ายมาจ่ายภายในระยะเวลาที่กําหนด  แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างได้รับหนังสือนั้นและนายจ้างไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่กําหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้หักไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดและชําระค่าใช้จ่ายที่นายจ้างต้องเป็นผู้จ่ายตามมาตรา  ๓๗  ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่นายจ้างโดยเร็ว
โดยให้พนักงานตรวจความปลอดภัยมีหนังสือแจ้งให้ทราบเพื่อขอรับเงินที่เหลือคืนโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถ้านายจ้างไม่มาขอรับคืนภายในห้าปีนับแต่วันได้รับแจ้ง  ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน
มาตรา  ๓๙  ระหว่างหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิตตามมาตรา  ๓๖  ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการหยุดการทํางานหรือการหยุดกระบวนการผลิตนั้นเท่ากับค่าจ้าง
หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ลูกจ้างต้องได้รับ  เว้นแต่ลูกจ้างรายนั้นจงใจกระทําการอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต
มาตรา  ๔๐  ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา  ๓๖  วรรคหนึ่งหากนายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ทราบคําสั่ง  ให้อธิบดีวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับอุทธรณ์  คําวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง หากนายจ้าง  ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
ทราบคําสั่ง  ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับอุทธรณ์  คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์ ย่อมไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย  เว้นแต่อธิบดีหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
มาตรา  ๔๑  ในการปฏิบัติตามหน้าที่  พนักงานตรวจความปลอดภัยต้องแสดงบัตรประจําตัวเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอบัตรประจําตัวพนักงานตรวจความปลอดภัย ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา  ๔๒  ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง  หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างดําเนินการฟ้องร้องหรือเป็นพยานหรือให้หลักฐานหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัตินี้หรือต่อศาล
มาตรา  ๔๓  ในกรณีที่นายจ้าง  ลูกจ้าง  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๖  ภายในระยะเวลาที่กําหนด  การดําเนินคดีอาญาต่อนายจ้างลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เป็นอันระงับไป
หมวด ๖กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้ อมในการทํางาน
มาตรา  ๔๔  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรียกว่า
“กองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน”  เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  ๔๕  กองทุนประกอบด้วย
(๑)  เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒)  เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
(๓)  เงินค่าปรับที่ได้จากการลงโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔)  เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๕)  เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให

(๖)  ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินของกองทุน
(๗)  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓
และมาตรา ๓๓
(๘)  ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๙)  รายได้อื่น ๆ
มาตรา  ๔๖  เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้
(๑)  การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานและการพัฒนา  แก้ไขและบริหารงานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ  สมาคม  มูลนิธิ  องค์กรเอกชน  หรือบุคคลที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดําเนินการส่งเสริม  สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการพัฒนางานด้าน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและตามมาตรา ๓๐
(๔)  สนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๕)  ให้นายจ้างกู้ยืมเพื่อแก้ไขสภาพความไม่ปลอดภัย  หรือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคอันเนื่องจากการทํางาน
(๖)  เงินทดรองจ่ายในการดําเนิ นการตามมาตรา ๓๗
การดําเนินการตาม(๑) (๒) (๓) (๔) (๕)  และ(๖)  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด  และให้นําเงินดอกผลของกองทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตาม(๑) (๒) และ(๓)  ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบห้าของดอกผลของกองทุนต่อปี
มาตรา  ๔๗  เงินและทรัพย์สินที่กองทุนได้รับตามมาตรา  ๔๕  ไม่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา  ๔๘  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า“คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เป็นประธานกรรมการ ผู ้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสํานักงานประกันสังคม  ผู้แทนสํานักงบประมาณและผู้ทรงคุณวุฒิอีกคนหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละห้าคนเป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิงและชาย
มาตรา  ๔๙  ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับกับการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมของคณะกรรมการบริหาร
กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และให้นํามาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
กับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานโดยอนุโลม
มาตรา  ๕๐  ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  กํากั บการจัดการและบริหารกองทุน
(๒)  พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการช่วยเหลือและการอุดหนุน การให้กู้ยืม การทดรองจ่ายและการสนับสนุนเงินในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงินกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ของเงินกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๔)  วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิ ธีการ และเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุน
การขอเงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุน  การอนุมัติเงินทดรองจ่าย  การขอเงินทดรองจ่าย  การให้กู้ยืมเงินและการชําระเงินคืนแก่กองทุน
(๕)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา  ๕๑  ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี  ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงิน
กองทุนในปีที่ล่วงมาแล้วต่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบรับรองและเสนอต่อคณะกรรมการงบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินดังกล่าว  ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรี
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๗สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา  ๕๒  ให้มีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และมีอํานาจ
หน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)  ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒)  พัฒนาและสนับสนุนการจัดทํามาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓)  ดําเนินการ  ส่งเสริม  สนับสนุน  และร่วมดําเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของภาครัฐและเอกชน
(๔)  จัดให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านวิชาการ
(๕)  อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในกฎหมาย
ให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี  ทั้งนี้  ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ
หมวด ๘
บทกําหนดโทษ
มาตรา  ๕๓  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม
มาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๔  ผู้ใดมีหน้าที่ในการรับรอง  หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน  หรือรายงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา  ๘  วรรคสอง  กรอกข้อความอันเป็นเท็จในการรับรองหรือตรวจสอบ
เอกสารหลักฐานหรือรายงาน  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา  ๕๕  ผู้ใดให้บริการตรวจวัด  ตรวจสอบ  ทดสอบ  รับรอง  ประเมินความเสี่ยงจัดฝึกอบรม หรือให้คําปรึกษาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา  ๙  หรือไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา  ๑๑
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๖  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๗  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๔  หรือมาตรา  ๓๔  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา  ๕๘  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๕  หรือมาตรา  ๑๗  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดื อน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๕๙  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๘  วรรคหนึ่ง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๐  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๑๘  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรั บไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๑  ผู้ใดขัดขวางการดําเนินการของนายจ้างตามมาตรา  ๑๙  หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัย  หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา  ๓๗  วรรคหนึ่ง
โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๒  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๓  ผู้ใดกระทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๔  ผู ้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๕  หรือมาตรา  ๓๖  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๕  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา ๓๖วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา  ๖๖  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือกระทําการอย่างหนึ่ งอย่างใดเพื่ อให้สิ่ งที่ พนักงานตรวจความปลอดภัยสั่งให้ระงับการใช้หรือผูกมัดประทับตราไว้กลับใช้งานได้อีกระหว่างการปฏิบัติตามคําสั่ง
ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา  ๓๖  วรรคสอง  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ  และปรับอีกเป็นรายวันไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่า
จะดําเนินการตามคําสั่ง
มาตรา  ๖๗  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา  ๖๘  นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา  ๔๒  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน  หรือปรับ
ไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา  ๖๙  ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่
ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา  ๗๐  ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปกติวิสัยของนายจ้างจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผยซึ่งผู้นั้นได้หรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเนื่องจาก
การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ  เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้
หรือเพื่อประโยชน์แก่การคุ ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ หรือการสอบสวนหรือพิจารณาคดี
มาตรา  ๗๑  บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท  ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้  เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควร
ถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้
(๑)  อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(๒)  ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย  สําหรับความผิดที่เกิดขึ้น
ในจังหวัดอื่นในกรณีที่มีการสอบสวน  ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดที่เจ้าพนักงานมีอํานาจเปรียบเทียบได้ตามวรรคหนึ่งและบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ  ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้กระทําผิดได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถ้าผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายใน
กําหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ดําเนินคดีต่อไป
มาตรา  ๗๒  การกระทําความผิดตามมาตรา  ๖๖  ถ้าคณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งประกอบด้วยอธิบดี  ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติหรือผู้แทน  และอัยการสูงสุด  หรือผู้แทน
เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง  ให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้  และให้นํา
มาตรา ๗๑ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
มาตรา  ๗๓  ในวาระเริ่ มแรก  ให้คณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้ อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา  ๗๔  ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง  ประกาศ  หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นํากฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.  ๒๕๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม




ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น