วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย???       เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย???     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย????   คืออะไรหลายๆคนอาจสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคือหน้าที่อะไร? รปภ.ใช่หรือไม่?  น่านๆๆๆๆๆๆๆๆว่ากันไปยาวเลย  เลยจะมาขอเล่าสักหน่อย  เนื้อหาไม่โอเคก็ติชมได้  เม้นๆๆๆกันมา   เข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ

อย่างที่เรารู้ๆกันอยู่คนไทยน่ะมีนิสัยค่อนข้างจะดื้อรั้น มั่นใจ  และเอิ่มมมม...ประมาทไปสักนิด  แต่ก็ไม่ถือว่าจะทุกคนหรอกนะคะ  ที่บอกเนี่ยคือจะสื่อให้รู้ว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือ จป. เนี่ย เป็นตัวสำคัญเลยที่จะมาทำให้คนไทยของเราทำงานได้อย่างปลอดภัยขึ้น สมชื่อเลยล่ะค่ะ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

1. ความหมายของความปลอดภัยในการทำงาน

1.1  การประสบอันตราย
ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง  การคุ้มครองแรงงานได้ให้ความหมาย  ของคำว่า  ประสบอันตราย  ไว้ว่า  การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง  หรือการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง
โดยความหมายของ  การประสบอันตราย  นั้นเมื่อพิจารณาให้ละเอียดก็เห็นได้ว่าครอบคลุมถึง  อุบัติเหตุจากการทำงาน  และ  โรคจากการทำงาน  ของลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพในกิจการต่างๆ  ซึ่งอาจเป็น  คนงาน  ชาวนา  ชาวไร่  ชาวสวน  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  และข้าราชการเป็นต้น  การประสบอันตรายดังกล่าว  ปกติจะต้องเกิดขึ้น  หรือมีผลสืบเนื่องมาจากการทำงานของบุคคล  ณ  สถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน  หรือในงานที่นายจ้างมอบหมาย  เช่น  นิ้วคนงานถูกตัดขาดในขณะที่กำลังทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะ  หรือพนักงานที่ทำงานอยู่ในห้องเครื่องที่มีเสียงดังเป็นเวลานานหลายปีจนเกิดหูตึงขึ้น  เป็นต้น  แต่ในกรณีที่คนงานเดินกลับบ้านแล้วถูกรถจักรยานยนต์เฉี่ยวล้มลงจนได้รับบาดเจ็บสาหัส  ลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นอันตรายจากการประกอบอาชีพ

อุบัติเหตุจากการทำงาน  หมายถึง  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ  ไม่ได้คาดคิดและไม่ได้ควบคุมไว้ก่อนที่ทำงาน  แล้วมีผลทำให้คนเกิดความบาดเจ็บ  พิการ  หรือเสียชีวิต  และอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
โรคจากการทำงาน  บางครั้งมีผู้เรียกว่า  โรคจากการประกอบอาชีพ  หรือ  โรคอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน  หมายถึง  การเจ็บป่วยของคนงาน  พนักงาน  ข้าราชการ  ลูกจ้าง  หรือผู้ใช้แรงงานที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานในสถานที่ทำงาน

1.2  ความปลอดภัยในการทำงาน  หรือความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ความปลอดภัยในการทำงาน  ที่ใช้ในประเทศไทยมีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  Occupational  Safety  and  Health  คือ  หมายรวมถึง  ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทั้งหลาย  ซึ่งผู้ประกอบอาชีพ  หรือผู้ใช้แรงงานนั้น  อาจทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง  ขนส่ง   เหมืองแร่  ป่าไม้  ประมง  พาณิชยกรรม  เกษตรกรรม  หรือ  อาชีพอื่นใด  ดังนั้น  คำว่า  ความปลอดภัยในการทำงาน  จึงอาจใช้แทนคำว่า  ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้

อย่างไรก็ตาม  ในปัจจุบัน องค์การแรงงานระหว่างประเทศก็ได้มีการใช้คำเพิ่มขึ้นมาอีกคำหนึ่งคำคือ  Working  Conditions and Environment  ซึ่งเมื่อแปลก็จะมีความหมายว่า  สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมการทำงาน  โดยเจตนาจะหมายถึง  Working  Conditions  และ  Occupational  Safety  and  Health  ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลผู้ใช้แรงงานได้ครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้น   คือ  จะดูแลทั้งทางเศรษฐกิจสังคม (สวัสดิการ)   ความปลอดภัยและสุขอนามัยของผู้ใช้แรงงานนั่นเอง
ในการดูแลผู้ใช้แรงงานในด้านต่างๆ  ทั้งสวัสดิการ  ความปลอดภัย  และสุขอนามัย  (Welfare,Safety, and Health) นั้นนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใช้แรงงานได้รับการบาดเจ็บ  พิการ  หรือตายจากอุบัติเหตุจากการทำงาน  (Occupational  accident)  และนอกจากนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้สุขภาพของผู้ใช้แรงงานต้องเสื่อมโทรมลงจนอาจเกิดโรค  หรือความเจ็บป่วยจากการทำงาน  หรือที่เรียกว่าโรคจากการทำงาน  (Occupational  diseases)
ที่มา...คู่มือการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น