สวัสดีจ้า แอดมินเอาข้อมูลมาลงเพิ่มเติมให้แล้วนะคร้าบบบบบบบบบ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอุดหนุนๆๆๆๆๆๆ
บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้างานด้านความปลอดภัย
ผู้บังคับบัญชาระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมาก ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ในการสนองนโยบายและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยของสถานประกอบการ ทั้งนี้ เพราะเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน ในสถานที่ปฏิบัติงานโดยตรง ฉะนั้นหากผู้บังคับบัญชา ระดับหัวหน้างาน มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนแล้ว ย่อมจะทำให้กิจกรรมความปลอดภัยใดๆ บังเกิดประสิทธิผลในสถานที่ปฏิบัติงานได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน การเพิ่มผลผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ และลดความสูญเสียได้อย่างแน่นอน
บทบาทของหัวหน้างาน
1. ด้านการปฏิบัติงาน
ขจัดสาเหตุของอุบัติเหตุที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ( Unsafe Acts)
- สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ( Unsafe Conditions)
2. ด้านการบริหาร
- มีการถ่ายทอดงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อความเข้าใจตรงกัน และมีทัศนคติในการทำงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน
- มีการสอนงานเฉพาะด้าน ที่ต้องอาศัยเทคนิค ความชำนาญหรือประสบการณ์ให้แก่พนักงานที่อยู่มานานหรือจะเข้าทำงานใหม่ก็ตาม
- มีการประชุมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการอย่างสม่ำเสมอ เน้นหัวข้อทั้งในงานประจำกับความปลอดภัยและกิจกรรมอื่นๆ
- ห่วงใยในสุขภาพ สวัสดิการ ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
3. ความสูญเสียเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ
- ความสูญเสียทางตรง ( Direct Cost)
- ความสูญเสียทางอ้อม ( Indirect Cost)
1. ความสูญเสียทางตรง หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปอันเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุได้แก่
- ค่ารักษาพยายบาล
- ค่าเงินทดแทน
- ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ
- ค่าประกันชีวิต
2. ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะคำนวนเป็นตัวเงินได้) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ได้แก่
2.1 การสูญเสียเวลาทำงานของ
ก. คนงานหรือผู้บาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล
ข. คนงานอื่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราวเนื่องจาก
- ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล หรือนำส่งโรงพยาบาล
- ความอยากรู้อยากเห็นประเภทต่างๆ “ไทยมุง”
- การวิพากษ์วิจารณ์
- ความตื่นตกใจ (ตื่นตระหนักและเสียขวัญ)
ค. หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา เนื่องจาก
- ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
- สอบสวนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
- บันทึกและจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุเพื่อเสนอตามลำดับชั้นและส่งแจ้งไปยัง
หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
- จัดหาคนงานอื่นและฝึกสอนให้เข้าทำงานแทนผู้บาดเจ็บ
- หาวิธีแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดช้ำอีก
2.2 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย
2.3 วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องโยนทิ้ง ทำลายหรือขายเป็นเศษเหล็ก
2.4 ผลผลิตลดลง เนื่องจากขบวนการผลิตขัดข้อง ต้องหยุดชะงัก
2.5 ค่าสวัสดิการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ
2.6 ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บซึ่งโรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าผู้บาดเจ็บจะ
ทำงานยังไม่ได้เต็ที่หรือต้องหยุดงาน
2.7 การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร เพราะผลผลิตลดลงจากการหยุดชะงักของขบวนการ
การผลิตและความเปลี่ยนแปลงความต้องการของท้องตลาด
2.8 ค่าเช่า ค่าไฟฟ้าน้ำประปา และโสหุ้ยต่างๆ ที่โรงงานยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่า
โรงงานจะต้องหยุดหรือปิดกิจการหลายวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
2.9 การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงาน
ความสูญเสียทางอ้อมจึงมีค่ามหาศาลมากกว่าความสูญเสียทางตรงมาก ซึ่งปกติเรามักจะคิดกันไม่ถึง จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายของการเกิดอุบัติเหตุเปรียบเสมือน “ภูเขาน้ำแข็ง” ส่วนที่โผล่พ้นน้ำให้มองเห็นได้มีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ ในทำนองเดียวกันค่าใช้จ่ายทางตรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเป็นเพียงเพียงส่วนน้อยของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดซึ่งผู้บริหารโรงงานจะมองข้ามมิได้
รูป แสดงความสูญเสียของอุบัติเหตุเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง
4. กลยุทธที่ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุ
- การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job safety analysis : JSA )
- การตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Inspection)
- การสนทนาความปลอดภัย (Safety Talk)
- การรณรงค์กิจกรรม 5 ส
- ระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion System)
5. หลักการตรวจสอบความปลอดภัย
1. รู้อันตราย หมายถึง ผู้ตรวจความปลอดภัย จะต้องทราบว่าสิ่งที่พบเห็นเป็นอะไร เป็นสิ่งที่จัดว่าเป็นสาเหตุของการประสบอุบัติเหตุอันตรายหรือไม่ ทั้งการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
2. ประเมินได้ หมายถึง ผู้ตรวจความปลอดภัยสามารถประเมินผลได้ว่า สิ่งที่พบเห็นเป็นอันตรายจริงหรือไม่ ร้ายแรงเพียงใด จำเป็นจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนหรือไม่ บางครั้งอาจจะนำไปเทียบกับมาตรฐานได้ หรือบางครั้งอาจจะประเมินด้วยตาเปล่า
3. ควบคุมเป็น หมายถึง ความสามารถในการให้คำแนะนำแก้ไข หรือการบันทึกข้อคิดเห็นถึงอันตรายที่พบ แจ้งแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อการดำเนินงานแก้ไขต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น